การลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตฝาขวดพลาสติก โดยประยุกต์หลักการ DMAIC กรณีศึกษา บริษัท XXX จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตฝาขวดพลาสติกและเพื่อลดสัดส่วนของเสียในกระบวนการผลิตฝาขวดพลาสติกโดยการประยุกต์ใช้หลักการ DMAIC ร่วมกับเครื่องมือควบคุมคุณภาพ เช่น แผนภูมิพาเรโต และแผนภาพก้างปลา เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ และทราบปัญหาอย่างชัดเจน จากการวิเคราะห์ปัญหา พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดของเสียประเภทการเกิดของเสียหลังการเปิดเครื่องหลังการซ่อม (Set Up) คือ (1) เครื่องจักรขาดการบำรุงรักษา เสียบ่อย และ (2) วิธีการ เนื่องจากบริษัทขาดการทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction) และพนักงานไม่ตรวจสอบคุณภาพระหว่างเดินเครื่องจักร จึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำแบบประเมินความพร้อมก่อนการเริ่มทำงาน และการจัดทำแผนการบำรุงเชิงป้องกันมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา และทำการปรับปรุงแก้ไข พบว่า แนวโน้มของเสียที่เกิดจากการเปิดเครื่องหลังการซ่อม (Set Up) มีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมมีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมระหว่างเครื่องจักร A และ B ทั้งหมด 13,366 กิโลกรัม คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของเสียทั้งหมด 5.16 % หลังการปรับปรุงเหลือเพียง 1.8 % สามารถลดลงได้ 3.36 % จากผลการศึกษาสามารถนำหลักการดังกล่าวเป็นต้นแบบในการนำไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตชิ้นงานพลาสติกอีกมากที่ยังไม่ได้มีการทำการศึกษาภายในบริษัท เพื่อลดจำนวนของเสียที่เกิดขึ้น และลดต้นทุนการผลิตให้กับบริษัทอีกด้วย