การลดของเสียในกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพโลจิสติกส์โดยใช้การออกแบบการทดลอง

Main Article Content

นิธิศ ปุณธนกรภัทร์
บุริม นิลแป้น
ณภพ ซ้ายสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของชนิดไม้ ความหนาไม้ และ
ความเร็วรอบต่ออัตราของเสียในกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ และ 2) หาค่าความเร็วรอบ
และความหนาที่เหมาะสมที่สุดในการลดอัตราของเสียสำหรับไม้แต่ละชนิด สภาพปัญหาก่อน
การปรับปรุงพบว่า อัตราของเสียเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.37 คิดเป็นมูลค่า 26,080 บาทต่อเดือน
การวิเคราะห์ใช้การออกแบบการทดลองเชิงเส้นทั่วไป (GLM) และการวิเคราะห์ความ
แปรปรวน (ANOVA) เพื่อประเมินผลกระทบของปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัย ผลการวิเคราะห์พบว่า
ปัจจัยทั้งหมดส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่ออัตราของเสีย โดยค่าที่เหมาะสมที่สุด
คือ ความเร็วรอบ 75 รอบต่อนาที และความหนาไม้ 12 มม. สำหรับไม้ชานอ้อยและไม้ปาติ
เกิ้ล หลังการปรับปรุง อัตราของเสียลดลงเหลือร้อยละ 3.52 คิดเป็นมูลค่า 9,338 บาทต่อ
เดือน ลดลงจากเดิม 16,742 บาท หรือร้อยละ 64.19 ผลลัพธ์สะท้อนถึงประสิทธิภาพของ
การออกแบบการทดลองในการลดของเสีย ลดต้นทุนการจัดเก็บและเวลาที่ใช้ในกระบวนการ
แก้ไข รวมถึงลดภาระงานด้านการจัดการทรัพยากรที่สูญเสีย ส่งผลให้ระบบโลจิสติกส์
ตอบสนองความต้องการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา

Article Details

How to Cite
ปุณธนกรภัทร์ น., นิลแป้น บ., & ซ้ายสุวรรณ ณ. (2024). การลดของเสียในกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพโลจิสติกส์โดยใช้การออกแบบการทดลอง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 5(2), 39–52. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/7322
บท
บทความวิจัย

References

ธีรศักดิ์ รุ่งเรืองกิจ, & ชยานนท์ ปรีชา. (2562). การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนฉีดพลาสติกสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์โดยใช้หลักการออกแบบการทดลอง. วารสารวิศวกรรมอุตสาหการ, 10(4), 25–33.

ปราโมทย์ จินดามณี, & กิตติศักดิ์ นาคสวัสดิ์. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระยะลึกผิวแข็ง ด้วยการออกแบบการทดลองของการบรรจุคาร์บูไรซิ่งเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ โดยใช้หินปูนเป็นสารกระตุ้น. วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี, 8(1), 50–58.

สมเกียรติ แสงรุ่งเรือง, & วิไลลักษณ์ สุขสำราญ. (2563). การลดของเสียในกระบวนการฉีดพลาสติกของชิ้นส่วนโทรศัพท์ โดยการออกแบบการทดลอง และการประยุกต์ใช้เครื่องมือคุณภาพ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์, 28(2), 112–120.

สุวัฒน์ กิจพิพิธ. (2564). การลดของเสียในกระบวนการชุบโครเมี่ยมด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงวิศวกรรม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(3), 163–173.

Ding, Y., Wang, J., & Zhang, X. (2023). Design of experiments and machine learning with application to industrial processes. Statistical Papers, 64(2), 349–367.

Mohan, S., Verma, P., & Singh, R. K. (2023). Optimization of a commercial injection-moulded component by using DOE and simulation. Journal of Manufacturing Processes, 85, 305–313.