การศึกษาเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายแบบไม่สัมผัสสำหรับคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น

Main Article Content

นทวีร์ ไชยจำ
วีระศักดิ์ นาโศก
นัฐดนัย วงศ์ศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อออกแบบและสร้างระบบตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายแบบไม่สัมผัส 2. เพื่อศึกษาเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดของเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายแบบไม่สัมผัส อุปกรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) บอร์ด Arduino UNO R3 2) เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ GY - 906 และ 3) หน้าจอแสดงผล LCD การทดลองการตรวจวัดอุณหภูมิจะทดลองตั้งแต่ระยะ 2 เซนติเมตร โดยทำการเพิ่มระยะครั้งละ 2 เซนติเมตร จนไปถึง 20 เซนติเมตร และทดสอบระยะละ 10 ครั้ง จากนั้นนำมาคำนวณหาค่าเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดของแต่ละระยะ การทดลองจะกำหนดและควบคุมตัวแปรของอุณหภูมิ ความสว่าง และตำแหน่งการวัดให้มีค่าที่คงที่และเหมาะสมเพื่อได้ผลการทดลองที่แม่นยำ ผลการทดลองพบว่าระบบตรวจอุณหภูมิสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง สามารถถอดประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ได้ทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการสร้างชิ้นงานมีราคาถูก การทำงานของเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิพบว่าระยะที่สามารถวัดค่าได้แม่นยำมากที่สุดคือระยะ 10 เซนติเมตร ซึ่งมีค่าความผิดพลาดอยู่ที่ 0.06 % ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปควรทดลองโดยการเปรียบเทียบกับเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิรุ่นอื่นเพื่อจะได้ทราบถึงความแม่นยำของเซ็นเซอร์รุ่นต่างๆ ที่มีขายทั่วไป และนำเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิไปประยุกต์ใช้กับระบบตรวจสอบและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีInternet of Things ในรูปแบบอื่นต่อไป

Article Details

How to Cite
ไชยจำ น. ., นาโศก ว., & วงศ์ศรี น. . (2024). การศึกษาเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายแบบไม่สัมผัสสำหรับคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 5(1), 47–58. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/5424 (Original work published 1 กรกฎาคม 2024)
บท
บทความวิจัย

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการ

ดำเนินการเรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานประกอบการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์2567 จาก https://ddc.moph.go.th/doed/journal_detail.php?publish=9984

กองวิศวกรรมการแพทย์. (2556). คู่มือ การจัดระบบวิศวกรรมการแพทย์ในโรงพยาบาล ปี 2556. สืบค้นเมื่อวันที่

กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.tfh.go.th/tfh/wp-content/uploads/2017/06/20-บทที่-16-ค่าผิดพลาดที่ยอมรับได้.pdf

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2561). เทคโนโลยี

Internet of Things และนโยบาย Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.nbtc.go.th/Services/quarter2560/%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2561/32279.aspx

สุรเทพ แป้นเกิด วาสนา ด้วงเหมือน และสุภษี ดวงใส. (2565). เครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ ด้วย

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. ปีที่ 8 (ฉบับที่ 2), 17-27

Merchant, J. (2017). Infrared Temperature Measurement Theory and Application. สืบค้นเมื่อวันที่ 9

กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://thermalprocessing.com/wpcontent/uploads/2017/201703 /0317-TP.pdf

Mnati, M. J., Chisab, R. F., Al-Rawi, A. M., Ali, A. H., & Van den Bossche, A. (2021). An open-source

non-contact thermometer using low-cost electronic components. HardwareX, 9, e00183. https://doi.org/10.1016/j.ohx.2021.e00183

Piccinini, F. Martinelli, G. Carbonaro, A. (2021). Reliability of Body Temperature Measurements

Obtained with Contactless Infrared Point Thermometers Commonly Used during the

COVID-19 Pandemic, Sensors, 21, 3794. https://doi.org/10.3390/s21113794