การลดเวลาในกระบวนการรีดผ้าปูที่นอน

Main Article Content

โสภิดา ท้วมมี
ปิยะ รนต์ละออง
ภาษิต ทินนาม
พิชฎาตา ผลพูล
พีระพงษ์ ยืนยงชัยวัฒน์
พลกฤต กลั่นแก้วดำรง
ยศวัจน์ ชีววรนนท์ตรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยฉบับนี้ คือการลดเวลาในการรีดผ้าปูที่นอนของแผนกซักรีด โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยได้แก่การศึกษางานในกระบวนการซักรีด และวิเคราะห์หาสาเหตุข้อบกพร่อง เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการรีด เพื่อให้เกิดความสูญเสียเวลาลดน้อยลง  ขั้นตอนของการศึกษา เริ่มที่การศึกษาตั้งแต่กระบวนการ ซัก อบ รีด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่อาจจะส่งผลให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการรีด ต่อมาจึงทำการจับเวลาการทำงานทั้งหมด 10 รอบการทำงาน และ นำมาหาค่าจำนวนวัฎจักรที่เหมาะสมที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ระดับความผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์ และทำการหาเวลามาตรฐานของกระบวนการรีด โดยจับเวลาทั้งก่อนและหลังการแก้ไข ในส่วนของการวิเคราะห์หาปัญหานั้น ได้จำแนกประเภทของปัญหาโดยใช้แผนภูมิสาเหตุและผล และเทคนิคการตั้งคำถาม ผลที่ได้รับสามารถลดเวลาในกระบวนการทำงาน และหาเวลามาตรฐานของกระบวนการรีดผ้าปู ที่นอน ซึ่งมีกระบวนการทำงาน 5 กระบวนการ เวลามาตรฐานก่อนปรับปรุงคือ 17,793 วินาที และเวลามาตรฐานรวมหลังปรับปรุง 13,9 13 วินาทีหลังจากปรับปรุงกระบวนการรีดผ้าปูที่นอนสามารถลดเวลาได้ 3,880 วินาที คิดเป็น 21.81 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
ท้วมมี โ. ., รนต์ละออง ป. ., ทินนาม ภ. ., ผลพูล พ. ., ยืนยงชัยวัฒน์ พ. ., กลั่นแก้วดำรง พ. ., & ชีววรนนท์ตรี ย. . (2020). การลดเวลาในกระบวนการรีดผ้าปูที่นอน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 1(2), 25–34. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4836
บท
บทความวิจัย

References

วันชัย ริจิรวนิช. (2550). การศึกษาเวลา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 5.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ท้อป.

ศุภชัย นาทะพันธ์. (2551). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.