การศึกษาพฤติกรรมการสึกหรอด้วยการทดสอบ Pin-on-Disc กับสภาวะไร้การหล่อลื่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการสึกหรอด้วยการทดสอบ Pin-on-Disc ตามมาตรฐาน ASTM G99 กับสภาวะไร้การหล่อลื่น ในการทดลองเชิงสถิตินั้น เป็นการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองเชิง แฟกทอเรียล มีพารามิเตอร์สำคัญ 3 พารามิเตอร์ ได้แก่ น้ำหนักกด คือ 1, 2 กิโลกรัม ความเร็วรอบ คือ 400, 800 รอบต่อนาที และเวลา คือ 5, 10,15 นาที วัสดุชิ้นงานทดสอบสำหรับการทดลองมี 4 ประเภท ได้แก่ ผิวชิ้นงานทังสเตนคาร์ไบด์ (wc ผิวชิ้นงานเคลือบไทเทเนียมไนไตรด์ (TiN) ผิวชิ้นงานเคลือบไทเทเนียมอลูมินัมซิลิกอนไนไตรด์ (TiAISIN) และผิวชิ้นงานเคลือบไทเทนียมอลูมินัมซิลิกอนโครเมียมไนไตรด์ (TiAISICIN) บทสรุปสุดท้ายของงานวิจัย พบว่า พฤติกรรมการศึกหรอโดยส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นร่องรอยที่เกิดขึ้นจากการไถล ซึ่งถือเป็นลักษณะการสึกหรอแบบยึดติด
Article Details
References
เบญจวรรณ แสงวิเชียร และ ชาวสวน กาญโนมัย. "ผลกระทบของความเร็วการไถลต่อกลไกการศึกหรอของเหล็กกล้าไร้สนิม 361L ผลิตด้วยกระบวนการฉีดขึ้นรูปผงโลหะ." โครงการคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปีที่ 22 ฉบับที่ 67 (กุมภาพันธ์ - เมษายน พ.ศ.2552)
นิติกร นรภัยพิพากษา. 2554."ผลกระทบของอุณหภูมิผิวสัมผัสที่มีผลต่อพฤติกรรมการสึกหรอของอิพอกซีเรชินเติมซิลิกาบด." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554.
ศุภชัย หลักคำ และ กุลยศ สุวันทโรจน์.2555. "การศึกษาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของผ้าเบรกโดยวิธีการทดสอบทางเลือก." วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ.2555)
ภาณุพงษ์ เพชรประดับ, นุชจิรา ดีแจ้งและ อมริศา มณีรุ่ง. "การออกแบบแขนกดชิ้นงานทดสอบการสึกหรอแบบ Pin on Disk และทดสอบกลไกการสึกหรอของเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304."2561. วิทยาศาสตร์บรูพา.ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม พ.ศ.2561.