การออกแบบเครื่องทำความสะอาดอัจฉริยะ

Main Article Content

วรสุภรางค์ ศิริพราหมนุกูล
จิโรจน์ สุทธิภาค
พรทิพย์ เหลียวตระกูล
รัตนา ลีรุ่งนาวารัตน์

บทคัดย่อ

        การออกแบบเครื่องทำความสะอาดอัจฉริยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานเครื่อง ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Thing : IOT) ในการดำเนินการวิจัยแบ่งกระบวนการออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การออกแบบเครื่อง โดยใช้โปรแกรม 123D Design และ 2) การออกแบบแอปพลิเคชันในการควบคุมการทำงานที่เชื่อมต่อกับเครื่อง โดยผ่านโปรแกรม blynk ผู้ใช้งานสามารถสั่งการผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ซึ่งจะนำไปประมวลผลภายใต้การควบคุมการทำงานบนแผงวงจร Arduino ผู้ใช้งานสามารถสั่งการและควบคุมการทำงานได้ทันที นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบเครื่อง โดยวิเคราะห์ตามทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์ระบบ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เข้าใจปัญหา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ จากนั้นจึงทำการออกแบบและสร้างแบบจำลองกระบวนการทำงาน (Process Model) โดยสร้างผังงาน (Flow chart) แล้วทำการออกแบบอุปกรณ์และหน้าจอควบคุมการทำงาน และเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านฐานข้อมูล 1 ท่าน, เทคโนโลยีสารสนเทศด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง 1 ท่าน, ด้าน UX/UI 2 ท่าน, และด้านฮาร์ดแวร์     1 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน ซึ่งพบว่า 1. ด้านฐานข้อมูล ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.08 และค่าความแปรปรวนอยู่ที่ 0.57 2. ด้านกระบวนการทำงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.04 และค่าความแปรปรวนอยู่ที่ 0.55 3. ด้านประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.96 และค่าความแปรปรวนอยู่ที่ 0.52 4. ด้านส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25 และค่าความแปรปรวนอยู่ที่ 0.51

Article Details

How to Cite
ศิริพราหมนุกูล ว. ., สุทธิภาค จ. ., เหลียวตระกูล พ. ., & ลีรุ่งนาวารัตน์ ร. . (2021). การออกแบบเครื่องทำความสะอาดอัจฉริยะ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 2(1), 70–88. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4777
บท
บทความวิจัย

References

Li, N.P., Xiao, Y.M., Shen, L., Xu, Z.Y., Li, B.T. and Yin, C.X. (2019) Smart Agriculture with an Automated IoT-Based Greenhouse System for Local Communities. Advances in Internet of Things, 9, 15-31.

Retrieve April 29, (2019) from https://doi.org/10.4236/ait.2019.92002

Mamun-IbnAbdullah, M., Shahinuzzaman, M., Rahim, S.M.A. and Kabir, M.H. (2020) Convergence Platform of Cloud Computing and Internet of Things (IoT) for Smart Healthcare Application. Journal of Computer and Communications, 8, 1-11.

Retrieve July 31, 2020 from https://doi.org/10.4236/jcc.2020.8800

Mylavarapu, R.T. and Mylavarapu, B.K. (2018) Multiple Architectural Approach for Urban Development Using Wearable IoT Devices: A Combined Machine Learning Approach. Advances in Internet of Things, 8, 27-38.

Retrieve July 31, 2018 from https://doi.org/10.4236/ait.2018.83003

กอบเกียรติ สระอุบล. (2562). Node MCU.Development IoT on Arduino and Raspberry Pi. (หน้า 36-37). กรุงเทพฯ. ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.

ธวัชชัย. (2559). Microprocessor, Microcontrollers.Raspberry Pi. (หน้า.17-18). กรุงเทพฯ.ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.

บุญธรรม. (2562). พื้นฐานช่างอิเล็กทรอนิกส์. (หน้า.198). กรุงเทพฯ. ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.

Blynk. (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม https://iot.jpnet.co.th/blynk/

Donlawit. (2561). Process Model สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.glurgeek.com/education/software-process-model

kerati nuallaong. (2555). System Development Life Cycle SDLC สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2562 จาก https://keratinuallaong.blogspot.com/2012/03/system-development-life-cycle-sdlc.html

M.Wannaporn C. (2557). Flow Chart. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 จาก https://stwannaporn.wordpress.com