การศึกษาขั้นตอนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาขั้นตอนการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่ 2) เพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่ ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตตู้แช่ที่เป็นกรณีศึกษานี้ก็ต้องการลดต้นทุนการผลิต โดยต้องการปรับปรุงขั้นตอนการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่ปัจจุบันมีผู้ปฏิบัติงานจำนวน 4 คน โดยใช้เวลาในการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่เฉลี่ย 896 วินาทีต่อชิ้น โดยอาศัยทฤษฎีการศึกษางาน และปรับปรุงงานโดยใช้หลักการ ECRS มาประยุกต์ใช้ในการสร้างรถเข็น (Simplify) และจัดลำดับขั้นตอนการการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่ขึ้นใหม่ (Rearrange) หลังปรับปรุงพบว่าสามารถลดขั้นตอนการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่ลงได้จากเดิมมี 9 ขั้นตอนลดลงเหลือ 6 ขั้นตอน สามารถลดลงได้ 3 ขั้นตอนคิดเป็นร้อยละ 33.33 สามารถลดระยะเวลาการปฏิบัติงานขั้นตอนการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่ลงได้จากเดิมใช้เวลา 896 วินาทีต่อชิ้นลดลงเหลือ 167 วินาทีต่อชิ้นสามารถลดระยะเวลาลงได้ 762 วินาทีต่อชิ้น หรือคิดเป็น 12.7 นาทีต่อชิ้นคิดเป็นร้อยละ 82.02 สามารถลดจำนวนพนักงานในขั้นตอนการพิมพ์ลายช่องลมตู้แช่ลงได้จากเดิมใช้พนักงาน 4 คน ลดลงเหลือ 3 คนสามารถลดจำนวนพนักงานลงได้ 1 คนคิดเป็นร้อยละ 25 และสามารถลดต้นทุนค่าแรงลงได้ 9,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 25
Article Details
References
อมรรัตน์ ปิ่นชัยมูล และศิระพงศ์ลือชัย. (2563). การปรับปรุงวิธีการทำงานสำหรับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ไรซ์แครกเกอร์ด้วยแนวคิดไคเซ็น. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, ปีที่ 6 (ฉบับที่ 1), 1-7.
อัญญารัตน์ ประสันใจ และสมพร วงษ์เพ็ง. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถแทรกเตอร์ ด้วยเทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ: กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารวิชาการปทุมวัน, ปีที่ 10 (ฉบับที่ 27), 55-69.
คลอเคลีย วจนะวิชากร. (2562). การลดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตไม้กวาดทางมะพร้าวกรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านบุ่งหวายจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., ปีที่ 13 (ฉบับที่ 1), 141-152.
อำนาจ อมฤก และศิลปชัย วัฒนเสย. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพโดยวิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์และเทคนิคอีซีอาร์เอส: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กของยานยนต์. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, ปีที่ 5 (ฉบับที่ 1), 21-27.
ชิตษณุ ภักดีวานิช และสุชาขนิษฐ์ ทองพรหม. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบชิ้นส่วนรถยนต์ กรณีศึกษา โครงรถยนต์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ปีที่ 2 (ฉบับที่ 2), 37-51.