การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนจากเศษไม้ไผ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีแบบผสมผสาน คณะผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการไว้ 3 ประการคือ 1)เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตลอดจนสภาพปัญหาปัจจุบันของผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) เพื่อเป็นการศึกษาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษไม้ไผ่ให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตในยุคปัจจุบัน ซึ่งการดำเนินด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลในพื้นที่ศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์และแบบประเมินผลิตภัณฑ์ ประชากรกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงพนักงานบริษัท พักอาศัยในคอนโดมีเนียมในเขตกุรงเทพมหานคร ช่วงอายุ 30-40 ปี จำนวน 30 คน
จากผลการดำเนินการศึกษาด้านทักษะองค์ความรู้ภูมิปัญญาของชุมชนเกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น กระบวนการและเทคโนโลยีการผลิตเป็นรูปแบบตามภูมิปัญญาดั้งเดิม วัตถุดิบหลักไผ่ตง ในกระบวนขาดการจัดการกับของเศษเหลือทิ้งจากระบวนการส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมและชุมชนเนื่องจากขาดการดำเนินการในการจัดการที่เหมาะสมและต่อเนื่อง ด้วยปัญหาจากเศษเหลือทิ้งจากกระบวนผลิต คณะผู้วิจัยได้ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์เศษไม้ไผ่ ผลการประเมินพบว่า ค่าความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาแล้วในสามอันดับ แรกคือ อันดับที่ 1 ความเหมาะสมในการนำไม้ไผ่มาประยุกต์โดยค่าเฉลี่ย 4.47 ระดับความคิดเห็นอยู่ใน ระดับความเหมาะสมมาก อันดับที่ 2 ราคาเหมาะสมคุ้มค่าโดยค่าเฉลี่ย 4.23 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับ ความเหมาะสมมากและอันดับที่ 3 ความสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายโดยค่าเฉลี่ย 4.17 โดยภาพรวมของ ระดับความคิดเห็นทั้ง 15 ประเด็นการประเมินโดยค่าเฉลี่ย 4.00 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความ เหมาะสมมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนจากเศษไม้ไผ่ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลทางเศรษฐกิจชุมชน สร้างรายได้และช่องทางอาชีพอย่างยืน
Article Details
References
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2556). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน:เอกลักษณ์เฉพาะถิ่นFolk Handicrafts: Local Identity. Silpakorn University Journal, 163-182.
แก้วน่วม กัณฑมาศและคณะฯ. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคและความคิดเห็นต่อการซื้อสินค้าติดเครื่องหมายKU SAFE ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนกร รันดร์นุต. (2013). โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษไม้เหลือใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อส่งเสริมงานตกแต่งทางสถาปัตยกรรม:กรณี ศึกษาบริษัทสยามวู้ดเท็ค จำกัด. มหาวิทยาลัย ศิลปากร,
ปิยากรณ์ คำยิ่งยง. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม:กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจาก เศษไม้.