การออกแบบและสร้างกระบอกลมจับชิ้นงาน ม้วนกลม CLAMP รถยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบและสร้างกระบอกลมจับชิ้นงาน ม้วนกลม CLAMP รถยนต์ โดยใช้ตัวกระบอกลมนิวเมติกส์จับยึดเข้าตัวบล๊อคแม่พิมพ์ และใช้ตัวชุดกล่องคอนโทรลเข้ากับมูเล่ย์เครื่องปั้มโลหะ ให้เครื่องทำงานอัตโนมัติ ผลการทดลองพบว่า การติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์เข้าเครื่องปั๊มโลหะ มีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น จากแบบที่ไม่ติดตั้งตัวกระบอกลมนิวเมติกส์ โดยใช้เวลาในการผลิตชิ้นงานไม่เกิน 1 นาที สามารถผลิตชิ้นได้ 6 ชิ้น และความเร็วรอบในการผลิตแบบที่ติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์ชิ้นงานม้วนกลม โดยใช้เวลาในการผลิตชิ้นงานไม่เกิน 1 นาทีสามารถผลิตช้ินได้ 1 2 ชิ้น แล้วนำมานับยอดรวมผลิตทั้งหมดใน 1 เดือน แบบติดตั้ง
กระบอกลมนิวเมติกส์สามารถชิ้นงานได้ 138,418 ชิ้น มียอดของดี 129,501 และของเสีย 8,9 17 ชิ้น แบบไม่ติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์สามารถชิ้นงานได้ 69,128 ขึ้น มียอดของดี 51,106 ชิ้น และของเสีย 18,022 ชิ้น เมื่อนำทั้ง 2 แบบมาคิดผลร้อยละใน 100 % แบบติดตั้ง
กระบอกลมยอดของดีอยู่ที่ 93.56% ของเสียอยู่ที่ 6.44% แบบไม่ติดตั้งตัวกระบอกลมยอดของดีอยู่ที่ 73.93% ของเสียอยู่ที่ 26.07%
Article Details
References
ณัฐวิชช์ สุขสง. (2558). การควบคุมระบบเซอร์โวนิวเมติกส์ด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วันเฉลิม เวียงวงษ์ และวีรภัฏ จอมขันเงิน.(2558). การพัฒนาระบบนิวแมติกส์โดยระบบควบคุมวงรอบปิด.(โครงงานวิจัย). กรุงเทพฯ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกรียงไกร ศรีเลิศ. (2558). การลดของเสียการป้อนชิ้นงานในกระบวนการชุบแข็ง กรณีศึกษา : บริษัทชุบแข็งตัวอย่าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี.
มหาวิทยาลัยเทคนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สืบค้นจากhttp://www.research.rmutt.ac.th/?p=15953.
บริษัท นิวแอนด์ไฮด์ จำกัด. (2564). ระบบนิวเมติกส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563, จาก :https://www.pneu-hyd.co.th