แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า โดยการปรับปรุงแผนผังคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัท ตงเฉิน อิเล็คทริค เคเบิล แอนด์ไวร์ จำกัด

Main Article Content

นัชชา พุกกำเนิด
จุฑาทิพย์ พุทธเคน
ณัฐชัย เปลี่ยนวิจารณ์
หทัยรัตน์ ธีระกาญจน์
อัจฉรา ผ่องพิทยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เป็นการหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า โดยการปรับปรุงแผนผังคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ตงเฉิน อิเล็ทริค เคเบิลแอนด์ไวร์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า จากการศึกษาบริษัทกรณีศึกษาพบว่าปัจจุบันมีปัญหาพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้ามีจำกัด และมีระบบการจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบ ส่งผลให้ค้นหาสินค้าไม่สะดวกและใช้เวลานานในการค้นหาสินค้าทำให้การส่งสินค้าเกิดความล่าช้า โดยงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแผนผังคลังสินค้ารูปแบบปัจจุบัน และเอกสารบันทึกรายการสินค้าออกเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลเข้ามาช่วยในการคำนวณ เพื่อจัดกลุ่มสินค้าตามทฤษฎีเอบีซี และใช้การวางแผนผังคลังสินค้า โดยสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยวางไว้ใกล้ประตูร่วมกับรูปแบบการวางสินค้าตามระบบจัดเก็บ โดยกำหนดตำแหน่งตายตัว นอกจากนี้ยังได้จัดทำป้ายบ่งขี้สินค้า เพื่อเข้ามาช่วยควบคุมสินค้ามาก่อนใช้ก่อน ผลจากการวิจัยพบว่าสินค้า P60 มีระยะทางลดลง 35 เมตร คิดเป็น 6.89% และสินค้า P90 มีระยะทางลดลง 14.6 เมตร คิดเป็น 2.96%

Article Details

How to Cite
พุกกำเนิด น. ., พุทธเคน จ. ., เปลี่ยนวิจารณ์ ณ. ., ธีระกาญจน์ ห. ., & ผ่องพิทยา อ. . (2020). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า โดยการปรับปรุงแผนผังคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัท ตงเฉิน อิเล็คทริค เคเบิล แอนด์ไวร์ จำกัด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 1(2), 63–79. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4542
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). การแบ่งกลุ่มสินค้าโดยการใช้ทฤษฎีเอบีซี. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2562 จาก https://www.iok2u.com.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2553). คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า(ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ โฟกัสมีเดียแอนด์ พับลิชซิ่ง จำกัด.

ชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2555). การจัดการคลังสินค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ประภากร อุ่นอินทร์. (2552). การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ:สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ปรัตถกร ทรัพย์ประภา. (2559). การวิเคราะห์เนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างขึ้นเองในห้องกันครัวของเว็บไซต์Pantip.com. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช, และพนา จินดาศรี.(2561). ความหมายที่แท้จริงของค่ า IOC. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัสฐนันท์ ชาติมนตรี. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่จัดเก็บสินค้าในระหว่างกระบวนการผลิต.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

ลลัลดา ชมโฉม. (2559). การศึกษาปัญหาและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเอกสารประกอบการเดินพิธีการกรมศุลกากร (ใบขนขาออก).

ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

วรรณวิภา ชื่นเพ็ชร. (2560). การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วยเทคนิคABC ANAL YSIS กรณีศึกษาบริษัท AAA จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วรัญญา สาสมจิตต์. (2559). การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังวัตถุดิบ. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา

วราภรณ์ สารอินมูล. (2559). เทคโนโลยีรหัสแท่งกับการประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี จำกัด. (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิริยะ สิริสิงห, มั่นเกียรติ โกศลนิรัตติวงษ์,และยิ่งศักดิ์ นิติยฤกษ์. (2538).110 ธาตุคุณสมบัติและการค้นพบ(ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์ อักษรวัฒนา จัดพิมพ์จำหน่าย.

ศิริชัย เพิ่มกาญจนา. (2555). แผนผังก้างปลา.เข้าถึงได้จากhttps://perchai.wordpress.com.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.(2554). เครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพและการสนทนากลุ่ม. ใน กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์;.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2547). สาระน่ารู้ทางสถิติ. เข้าถึงได้จาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ : http://service.nso.go.th.

อมรรัตน์ ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา . (2555).การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการจัดแผนผัง คลังสินค้าใหม่ก รณีศึกษาบริษัท ABC. บัณฑิตศึกษาสาขาวิชา

เทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

U.S. Geological Survey. (2009).Copper-A Metal for the Ages. Retrieved June 2020,24.