การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเขียนบทความวิจัย สำหรับการเผยแพร่ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

ไสว ศิริทองถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการวิจัยทางการจัดการอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่บทความวิจัย และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเขียนบทความวิจัยสำหรับการเผยแพร่ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวิจัยทางการจัดการอุตสาหกรรม ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการใช้มติที่ประชุม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ระดับของการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการวิจัยทางการจัดการอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่บทความวิจัยของนักศึกษา
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 3.42 จากมาตรวัด 5 ระดับ ระดับค่าเฉลี่ยของระดับการจัดการเรียนรู้รายด้าน เรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านเทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเขียนบทความวิจัยสำหรับการเผยแพร่ มี ดังนี้ ควรวัดและประเมินผลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ ตามความสนใจและความเกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญควรใช้เทคนิคการวิพากษ์ และการใช้คำถามที่ท้าทาย ตลอดจนเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนกล้าแสดงออก ผ่านการรับฟังความคิดเห็น และมีความยืดหยุ่น

Article Details

How to Cite
ศิริทองถาวร ไ. . (2020). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเขียนบทความวิจัย สำหรับการเผยแพร่ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 1(2), 80–95. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4540
บท
บทความวิจัย

References

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2561). ตารางสอนและรายชื่อนักศึกษา (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2561 จาก http://reg.ssru.ac.th/index.php.

ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์. (2561). การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 จาก http://www.thonburi-u.ac.th/KM/article.pdf.

ชนาธิป พรกุล. (2551). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการเรื่องActive Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เมื่อวันที่30 กรกฎาคม2557. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมคิด พรมจุ้ย. (2547). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักวิจัย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, ปีที่ 17 (ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม), 97-103.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุวิทย์ คำมูล และคณะ. (2559). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อัครเดช เกตฉ่ำ และคณะ. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Best, J.W. and Kahn, J.V. (1986).Research in Education. 5th Edition. New Delhi: Prentice Hall.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. NY: Harper and Row.