การพัฒนาอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูป กรณีศึกษาอุตสาหกรรมแปรรูปและตัดแต่งเนื้อสัตว์

Main Article Content

นิธิศ ปุณธนกรภัทร์
ฉมาธร กุยศรีกุล
ณภพ ซ้ายสุวรรณ
บุริม นิลแป้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาขั้นตอนการขนส่งเพื่อจัดเก็บสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูป
2) พัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการขนส่งเพื่อจัดเก็บสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูป การวิจัยในครั้งนี้พบประเด็นปัญหาคือพนักงานขนส่งเพื่อจัดเก็บสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูป ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ประกอบกับพื้นที่ภายในโรงงานแปรรูปมีพื้นลาดเอียงหลายจุด ทำให้ประสบปัญหาการใช้ระยะเวลาในการขนส่งเพื่อจัดเก็บสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูปนาน และพบมูลค่าเฉลี่ยของเสียที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูปสูง โดยการวิจัยนี้ได้พัฒนาอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูป ตามหลักการ ECRS มาพัฒนาปรับปรุงรถเข็นขึ้น เพื่อใช้งานได้สะดวกมากขึ้น (Simplify) ตลอดจนใช้แนวคิดในการเพิ่มผลผลิต หลังปรับปรุงสามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการจัดเก็บสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูปลงก่อนปรับปรุงใช้เวลา 4.37 ชั่วโมงต่อวัน หลังปรับปรุงลดเหลือ 3.38 ชั่วโมงต่อวัน สามารถลดเวลาลงได้ 0.99 ชั่วโมงต่อวันคิดเป็นร้อยละ 22.65 และสามารถลดมูลค่าเฉลี่ยของเสียที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูปลง ก่อนปรับปรุงพบมูลค่าความเสียหายเฉลี่ย 3,263 บาทต่อเดือน หลังปรับปรุงไม่พบมูลค่าความเสียหาย คิดเป็นร้อยละ 100

Article Details

How to Cite
ปุณธนกรภัทร์ น. ., กุยศรีกุล ฉ. ., ซ้ายสุวรรณ ณ. ., & นิลแป้น บ. . (2021). การพัฒนาอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าไปคลังห้องเย็นสินค้าสำเร็จรูป กรณีศึกษาอุตสาหกรรมแปรรูปและตัดแต่งเนื้อสัตว์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 2(2), 60–73. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4512
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ สุภักดี, อินทุอร หินผา, อาริญา กล่อกระโทก และณัฐวัฒน์ เหล่าโก้ก. (2561). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเทียนเวียนหัว กรณีศึกษา: ธุรกิจโรงหล่อเทียนมงคล. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., ปีที่ 12 (ฉบับที่ 2), 112-122.

คลอเคลีย วจนะวิชากร. (2562). การลดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตไม้กวาดทางมะพร้าวกรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านบุ่งหวายจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., ปีที่ 13 (ฉบับที่ 1), 141-152.

จิรวัฒน์ วรวิชัย และคณะ. (2563). การปรับปรุงวิธีการทำงานในการบรรจุชิ้นงานขึ้นรูปพลาสติก: กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, ปีที่ 10 (ฉบับที่ 2), 148-164.

ชิตษณุ ภักดีวานิช และ สุชาขนิษฐ์ ทองพรหม. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบชิ้นส่วนรถยนต์ กรณีศึกษา โครงรถยนต์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ปีที่ 2 (ฉบับที่ 2), 37-51.

ไพฑูรย์ ศิริโอฬาร และคณะ. (2564). การเพิ่มผลิตภาพแรงงานในขั้นตอนการขึ้นรูปขนมปังแพ. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, ปีที่ 7 (ฉบับที่ 1), 23-31.

เริงฤทัย ศิริรักษ์, กฤษณา คำษา และวรพจน์ ศิริรักษ์. (2563). การวิเคราะห์กระบวนการเพื่อปรับปรุงวิธีการการตรวจวัดชิ้นส่วนตู้เซิร์ฟเวอร์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 15 (ฉบับที่ 1), 50-61.

วรินทร์ เกียรตินุกูล. (2561). การจัดสมดุลสายการผลิตกระบวนการประกอบโครงอลูมิเนียม กรณีศึกษา: บริษัทตัวอย่าง. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, ปีที่ 4 (ฉบับที่ 1), 49-58.

วิจิตร ตัณฑสุทธิ์ และคณะ.(2539). การศึกษาการทำงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย