การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยความสามารถทางการแข่งขัน ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานผู้ให้บริการโลจิสติกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการองค์ความรู้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการ และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมขององค์กรที่สามารถสร้างความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งองค์กรควรตระหนักและให้ความสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความพึงพอใจต่อลูกค้า การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสามารถทางการแข่งขันที่ส่งผลต่อการดำเนินงานผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาประชากร ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ด้านการขนส่งขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นด้วยวิธีการจับฉลากได้ขนาดตัวอย่าง 340 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามประมาณค่า
5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการจัดการองค์ความรู้ นวัตกรรมองค์กร และการจัดการความเสี่ยงมีอิทธิพลทางตรงที่ส่งผลต่อผลดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ การจัดการองค์ความรู้ ซึ่งองค์กรควรให้ความตระหนักในการนำองค์ความรู้มาแบ่งปั้น และประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างทั่วถึงและแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาองค์กรโดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ และการพัฒนาบุคลากร และองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขัน
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2563). ข้อมูลและประเภทธุรกิจในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564, จากhttps://datawarehouse.dbd.go.th/searchJuristicInfo.
นันทรัตน์ เจริญกุล. (2553). การจัดการความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์, 21(1), 12-26.
ประจักษ์ พรมงาม, ศักดิ์ กองสุวรรรณ และ เชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ. (2560). แนวทางพัฒนาลดความล่าช้าในการขนส่งสินค้าปูนซีเมนต์ผงกรณีศึกษา บริษัท มีนาทรานสปอร์ต จำกัด. วารสารชุมชนวิจัย,10(3), 117 – 127.
ปัญญา เลิศไกร, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์, ลัญจกร นิลกาญจน์ และกฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์. (2562). การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3745 – 3757.
เผชิญ อุปนันท์. (2561). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564, จาก https://med.mahidol.ac.th/risk_mgt/
th/article/03202017-1523.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10791
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). e-Commerce ไทยยุคหลัง COVID-19. สืบค้น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 จาก https://www.etda.or.th/th/UsefulResource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. (2562). การจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564, จาก https://researchex.
mju.ac.th/km/index.php/blogkm/kmman/6-kmanagement
เอกรัตน์ เอกศาสตร์, สุธานันธ์ โพธิ์ชาธาร และ สมเกียรติ ทานอก. (2562). กลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทานเพื่อสร้างความได้เปรียบ
ในการแข่งขันและเพิ่มผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดย่อมประเภทธุรกิจผ้าไหมทอมือในพื้นที่ของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารวิชาการ บริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8(2), 22 – 46.
Kaplan, Robert S., and David P. Norton. (1992). The Balanced Scorecard Measures that Drive Performance. Harvard Business Review 70(1), 71–79.
Peerapan, P., & Jadesadalug, V. (2021). Conceptual framework of antecedents and consequences of Enterprise risk management capabilities. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 15(3), 143-152.
Silpcharu, T. (2017). Statistical Data Analysis and Research by SPSS and AMOS. (17th ed.). Bangkok: Business R&D Ordinary Partnership.
Shakerian, H., Dehnavi, H. D., & Shateri, F. (2016). A framework for the implementation of knowledge management in supply chain management. Procedia Social and Behavioral Sciences, 230, 176-183.
Tirakanan, S. (2007). Research Methodology in Science: Guideline on Practice. Bangkok: Chulalongkorn University.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistic. (2nd ed.). New York
Harper & Row. Yamchutikirdmanee, P., & Vichit, U. O. (2021). A Framework of the Influence of Knowledge Management towards Creating the Innovation in Workplace and Job Satisfaction among the Staff in Private University in Bangkok. Journal of Humanities and Social Sciences, Thonburi University, 15(3), 153-164.