การสังเคราะห์ซิลิกาจากเถ้าชีวมวลเพื่อใช้เป็นสารผสมเพิ่ม สำหรับมอร์ตาร์และคอนกรีต

Main Article Content

ชรินทร์ นมรักษ์
สหรัฐ สมประชา
สันติภาพ ชาภักดี
จตุรงค์ จุลเดช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสังเคราะห์ซิลิกาจากเถ้าชีวมวลซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ เถ้าแกลบ เถ้าปาล์ม และเถ้าชานอ้อย ด้วยการใช้วิธีโซลเจลและการตกตะกอน  ศึกษาอิทธิพลของซิลิกาจากเถ้าชีวมวลต่อกำลังอัดของมอร์ตาร์และการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีต โดยการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยซิลิกาที่ได้จากการสังเคราะห์ ที่ร้อยละ 5 10 และ15 ทดสอบกำลังอัดมอร์ตาร์ที่อายุ 14 28 60 90 และ 300 วัน และทดสอบการแทรกซึมคลอไรด์ของคอนกรีตแบบเร่ง ที่อายุ 28 วัน ผลจากการสังเคราะห์ซิลิกาพบว่า เถ้าแกลบให้ปริมาณซิลิกามากกว่าเถ้าชานอ้อย ส่วนเถ้าปาล์มเกิดซิลิกาในปริมาณน้อยมาก โดยเถ้าแกลบและเถ้าชานอ้อยสังเคราะห์ซิลิกาได้ร้อยละ 24.6 และ 16.6 ตามลำดับ การแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยซิลิกา ส่งผลให้ซิลิกามอร์ตาร์มีความต้องการน้ำมากกว่าซีเมนต์มอร์ตาร์ และพบว่ากำลังอัดของซิลิกามอร์ตาร์ที่อายุ 14 28 60 และ 90 วัน มีค่าต่ำกว่าซีเมนต์มอร์ตาร์ ในขณะที่อายุปลายคือที่อายุ 300 วัน ซิลิกามอร์ตาร์สามารถพัฒนากำลังอัดจนมีค่าใกล้เคียงกับซีเมนต์มอร์ตาร์ นอกจากนี้การแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยซิลิกาให้ค่าการต้านทานคอลไรด์ได้ใกล้เคียงกับคอนกรีตควบคุม โดยซิลิกาที่สังเคราะห์จากเถ้าแกลบให้ค่าการต้านทานคลอไรด์ได้ดีกว่าซิลิกาที่สังเคราะห์จากเถ้าชานอ้อย ผลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาคอนกรีตจากวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรต่อไป

Article Details

How to Cite
นมรักษ์ ช., สมประชา ส. ., ชาภักดี ส. ., & จุลเดช จ. . (2022). การสังเคราะห์ซิลิกาจากเถ้าชีวมวลเพื่อใช้เป็นสารผสมเพิ่ม สำหรับมอร์ตาร์และคอนกรีต. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 3(2), 47–62. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4046
บท
บทความวิจัย