ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้บริการจุดผ่านแดนสะเดา จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและสร้างเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพการให้บริการจุดผ่านแดนสะเดาจังหวัดสงขลา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ณ จุดผ่านแดนสะเดา จำนวน 400 ชุด จากข้อคำถาม 16 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสำนักงานสถานที่ หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการจุดผ่านแดนสะเดาจังหวัดสงขลา ด้วยวิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ และทดสอบค่าความคลาดเคลื่อนด้วยเปอร์เซ็นต์ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์ที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของจุดผ่านแดนสะเดา จังหวัดสงขลา ภาพรวม
มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ( x̄ = 4.03) และเมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นสูงสุดคือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (x̄ = 4.26) รองลงมาประสิทธิภาพด้านกระบวนการ ( x̄ = 3.96) และประสิทธิภาพด้านสำนักงาน สถานที่ ( x̄ = 3.87) โดยการทดสอบความแม่นยำในการวัดประสิทธิภาพการให้บริการจุดผ่านแดนสะเดา จากแบบสอบถามจำนวน 30 ชุด พบว่าเปอร์เซ็นต์ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 2.33 ซึ่งสรุปได้ว่าเกณฑ์การประเมินที่สร้างขึ้นมานี้ มีความแม่นยำเท่ากับร้อยละ 97.67 จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานมีความจำเป็นที่พัฒนาปรับปรุงด้านสำนักงาน อาคารสถานที่ รวมทั้งด้านกระบวนการเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อผู้มาใช้บริการให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ให้เกิดความยืดหยุ่นตลอด
โซ่อุปทานเพื่อลดการหยุดชะงักการดำเนินงานเพื่อสร้างความไว้วางใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
Article Details
References
กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2562). รายงานสรุปสถิติการเดินทางเข้า ออกจุดผ่านแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2561 – 30 ก.ย. 2562).
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ จิตรา โรจน์ประเสริฐกูล และเสริมสิทธิ์ สร้อยสอดศรี. (2554). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย กรณีศึกษาตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ปาริชาต ดอนบรรจง กิตติชัย เจริญชัย และเขมิกา แสนโสม. (2562). ปัจจัยกระบวนการ ให้บริการที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสุทธาเวช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2), 424-433.
ปัจจัย อินทรน้อย และณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์. (2565). สมรรถนะด้าน
โลจิสติกส์ และโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการขนส่งสินค้าทางอากาศของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน). วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 8(2), 50-64.
ยุพาวดี สมบูรณกุล, สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร, สมมาตร จุลิกพงศ์, เสาวณี จุลิรัชนีกร, ธีรศักดิ์ จินดาบถ, กุลวดี ลิ่มอุสันโน, สิทธิชัย ศุภผล และ นูรีมันต์ หลงหนิ. (2556). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการรูปแบบระบบการจัดการด่านพรมแดนสะเดา จังหวัดสงขลา. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
วรัญญา มณฑา และสุธาสินี โพธิ์ชาธาร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของ สำนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรี. วารสารราชพฤกษ์, 20(2), 139-152.
อรวรรณ นักปราชญ์. (2565). การค้าชายแดนด่านสิงขรกับการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และเศรษฐกิจไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(3), 43-64.
Hair, Joseph F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson New International.
Hwarng, H. B., & Ang, H. T. (2001). A simple neural network for ARMA (p, q) time series. Omega, 29(4), 319-333.