การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนชุมชนสู่ตลาดสากล กรณีศึกษา กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านผักหนอก จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนชุมชนนำสู่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดสากล กรณีศึกษา กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านผักหนอก จังหวัดมหาสารคาม ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา โดยบูรณาการความรู้ทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักการตลาด และวิทยาศาสตร์สีย้อม ภายใต้การปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ผลการวิจัยพบว่าจากการสำรวจตลาดผู้บริโภคชาวอเมริกันจำนวน 215 คน และ
ชาวจีน 74 คน มีความเห็นที่ค่อนข้างสอดคล้องกันในประเด็น สีย้อมธรรมชาติ โทนสีแดง เขียว น้ำเงิน น้ำตาล นิยมลายผ้าขนาดเล็ก โดยวางลายในบางตำแหน่งของผืนผ้า นิยมชุดเดรส สูทธลำลอง และกระโปรงสั้น รวมถึงมีช่องทางจำหน่ายในระบบออนไลน์ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับศักยภาพของชุมชน ทดลองพัฒนาการย้อมสีจากครั่ง ประดู่ และสบู่เลือด ทดลองเทคนิคการใช้มอร์แดน จนได้สีย้อม 3 สี 9 เฉด ดำเนินการออกแบบลายผ้าลายผักหนอกจากชื่อชุมชน ให้เป็นเอกลักษณ์ของกิจการ นำสู่การแปรรูปตัดเย็บ เสื้อทำงาน ชุดเดรส สร้าง
แบรนด์ Silktella นำเสนอเข้าสู่ตลาด จากนั้นดำเนินการทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ค่าคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 4.65-4.72 หมายถึงระดับดีมาก ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความนิยมในผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ เสริมภาพลักษณ์ที่ดีแก่ผู้สวมไส่ เหมาะกับการใช้ได้ในหลากหลายโอกาส สามารถไส่ร่วมกับรูปแบบเสื้อผ้าสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน
Article Details
References
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2554). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ. วารสารนักบริหาร, ปีที่31ฉบับที่ 1, 32-37.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ. (2539). ปาฐกถา “ทุนวัฒนธรรม”(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิไชย้ง ลิ้มทองกุล.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุค ใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท
ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด
สถาบันพัฒนาชุมชน. (2558). คู่มือสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน. สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ
สำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). โครงการการพัฒนาระบบสถิติข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล, (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม:แนวคิด หลักกสาร และบทเรียน” พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง.จำกัด