การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนพลังงานจำเพาะของการใช้เหง้ามันสำปะหลังเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน

Main Article Content

อนุรักษ์ ใจวังโลก
นฏกร สิริมงคลกาล
พรชัย พรหฤทัย
ศิริรัตน์ ศรอินทร์
เดชา โฉมงามดี
นาตยา เจริญสุข

บทคัดย่อ

ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง โดยหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีเหง้ามันสำปะหลังเหลือทิ้งจำนวนมาก ส่งผลก่อให้เกิดมลภาวะจากการเผาและสร้างภาวะเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ซึ่งเศษวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้สามารถเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อนในการประกอบอาหารได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงความร้อนเศรษฐศาสตร์ของเตาเชื้อเพลิง และเปรียบเทียบต้นทุนพลังงานจำเพาะ โดยวิธีการต้มน้ำ (Water Boiling Test) ซึ่งใช้เตาและเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน 4 ชนิด ดังนี้ 1. เตาชีวมวล แบบมีลมป้อน และแบบไม่มีลมป้อน 2. เตาแบบดั้งเดิม (เตาอั้งโล่) โดยเตาทั้ง 2 ชนิดข้างต้นใช้เหง้ามันสำปะหลังเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง 3. เตาแก๊สหุงต้ม ใช้แก๊ส LPG และ 4. เตาแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้า จากผลการวิจัยพบว่า เตาชีวมวลแบบมีลมป้อนและแบบไม่มีลมป้อน เตาแบบดั้งเดิม เตาแก๊สหุงต้ม และเตาแม่เหล็กไฟฟ้า มีประสิทธิภาพเชิงความร้อน คือ 22.12% 18.49% 27.26% 37.35% และ 85.84% ตามลำดับ มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน คือ 3.03 MJ/kWh 5.63 MJ/kWh 2.50 MJ/kWh 0.62 MJ/kWh และ 0.63 MJ/kWh ตามลำดับ มีผลการเปรียบเทียบต้นทุนพลังงานจำเพาะของเตาชีวมวลแบบมีลมป้อนและแบบไม่มีลมป้อน เตาแบบดั้งเดิม และเตาแม่เหล็กไฟฟ้า กับเตาแก๊สหุงต้ม พบว่าสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน 91.28% 89.35% 93.16% และ 31.90 % ตามลำดับ จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการใช้เหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสามารถช่วยต้นทุนค่าใช้จ่ายในครัวเรือน งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
ใจวังโลก อ., สิริมงคลกาล น. ., พรหฤทัย พ. ., ศรอินทร์ ศ. ., โฉมงามดี เ. ., & เจริญสุข น. . (2024). การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนพลังงานจำเพาะของการใช้เหง้ามันสำปะหลังเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 5(1), 1–15. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/3697
บท
บทความวิจัย

References

คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 4 พลังงานชีวมวล. (2554). กรุงเทพ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.

โครงการศึกษาออกแบบโรงไฟฟ้าสาธิตจากเหง้ามันสำปะหลังรายงานฉบับสุดท้าย (Final Report). (2549). กรุงเทพ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.

จีระศักดิ์ วงศา, จิรศักดิ์ ส่งบุญแก้ว และวันชัย ทรัพย์สิงห์. (2557). นวัตกรรมการให้ความร้อนแบบเหนี่ยวนำ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 17), 111-117.

ธนชาต มหาวัน. (2560). การพัฒนาเตาก๊าซชีวมวลไร้ควันสำหรับการผลิตความร้อนในวิสาหกิจชุมชนโรงฆ่าสัตว์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

ธนชาต มหาวัน, ชูรัตน์ ธารารักษ์, ณัฐวุฒิ ดุษฎี, กิตติกร สาสุจิตต์ และนิกราน หอมดวง. (2559). สมรรถนะเตาชีวมวลไร้ควันเมื่อใช้ซังข้าวโพดเป็นเชื้อเพลิง. การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 12, 626-631.

พลชัย ขาวนวล, สมบูรณ์ ประสงค์จันทร์ และสุนารี บดีพงศ์. (2563). การพัฒนาสมรรถนะเตาชีวมวลชนิด TLUD ระดับครัวเรือน. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, ปีที่ 14 (ฉบับที่ 1), 52-62.

รายงานสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย มกราคม-กรกฎาคม 2566. (2566). กรุงเทพ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.

วราภรณ์ ทุมชาติ. (2557). การผลิตโปรดิวเซอร์แก๊สจากเตาแบบ Inverted Downdraft โดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ปีที่ 7 (ฉบับที่ 1), 26-39.

วิลาวัลย์ คุ้มเหม. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพเตาชีวมวลชนิดป้อนเชื้อเพลิงแบบต่อเนื่องสำหรับวิสาหกิจแปรรูปอาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

สุปราณี วุ่นศรี, นพดล โพชกำเนิด และภารุณีย์ สามพิมพ์. (2564). การพัฒนาเตาชีวมวลประหยัดพลังงานสำหรับแปรรูปขนมซั้งน้ำดังของชุมชนตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่ง แวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, ปีที่ 12 (ฉบับที่ 1), 66-76.

อนุรักษ์ หอสูงเนิน, และยศวัฒน์ ทันวงษา. (2554). เตาหุงต้มเชื้อเพลิงแกลบสำหรับครัวเรือน. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2554, 574-578.

Arkbom, H. (2022). Development and performance analysis of top lit updraft: natural draft gasifier stoves with various feed stocks, Heliyon. Vol. 8(1), 1-16.

Francis, Obi O. Sunday, Louis E. and Ifeanyichukwu, Christian O. (2016). Energetic performance of a top-lit updraft (TLUD) cookstove. Renewable Energy. Vol. 99, 730-737.

Suresh, R. Singh, V.K. Malik, J.K. Datta, A. and Pal, R.C. (2016). Evaluation of the performance of improved biomass cooking stoves with different solid biomass fuel types. Journal of Biomass and Bioenergy. Vol. 95, 27-34.

Susastriawan, A.A.P. Purwanto, Y. Sidharta, B.W. Wahyu, G. Trisna, T. and Setiawan, R.A. (2021). Producer gas stove: Design, fabrication, and evaluation of thermal performance. Journal of King Saud University – Engineering Sciences. 1-8.