การประเมินประสิทธิผลของเครื่องหมายบนผิวจราจรแบบ Transverse Bar ที่มีต่อการลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุชนท้าย

ผู้แต่ง

  • อำพล การุณสุนทวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • สรวัชร์ จันทร์ทับ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • พรรณทิพา พันธ์ยิ้ม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • วันจักร ฉายากุล กรมทางหลวง กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • ปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล สำนักแผนงาน กรมทางหลวง กรุงเทพฯ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุชนท้าย, การขับรถตามกัน, เครื่องหมายบนผิวจราจร

บทคัดย่อ

การลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุจากการชนท้ายสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ขับรถตามหลังให้เว้นระยะห่างระหว่างรถตนเองกับรถคันหน้าอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถได้อย่างปลอดภัยและลดอุบัติเหตุจากการชนท้าย จึงมีโครงการนำร่องติดตั้งเครื่องหมายบนผิวจราจรแบบ “Transverse Bar” บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อหรือถนนพระรามที่ 2 โดยกำหนดระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างรถของตนเองกับรถคันหน้าคือ 47 เมตร ติดตั้งเครื่องหมายบนผิวจราจรแบบ “Transverse Bar” จำนวน 3 ชุดต่อเลน บริเวณเลนกลางและเลนขวาสุดพร้อมติดตั้งป้ายเตือนในช่วงระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร พบว่าเครื่องหมายบนผิวจราจรแบบ “Transverse Bar” มีส่วนช่วยให้ผู้ขับขี่เว้นระยะห่างระหว่างรถตนเองกับรถคันหน้าเพิ่มมากขึ้น แต่ประสิทธิผลจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ พบว่า การติดตั้งเครื่องหมายบนผิวจราจรแบบ “Transverse Bar” มีส่วนช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุจากการชนท้ายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99.39%

References

Pongpullponsak, A., Laosirihongthong, T. and Kuakasemboon, K., 2004, “The Study of Factors Component Relating to Road Accidents,” KMUTT Research and Development Journal, 27 (3), pp. 333 - 355. (In Thai)

Department of Public Safety, 2006, Minnesota Tailgating Pilot Project, USA.

Greibe, P., 2009, “Chevron Markings on Freeways: Effect on Speed, Gap and Safety,” Research Park, Scion-DTU, Denmark.

Lertworawanich, P., 2006, “Safe-Following Distances based on The Car-Following Model,” PIARC International Seminar on Intelligent Transport System (ITS) in Road Network Operations, Kuala Lumpur, Malaysia.

Lertworawanich, P., 2009, “Implementation of DOT Following-distance Pavement Markings in Thailand,” Proceedings of the Eastern Asia Society of Transportation Studies, Vol. 7.

Karoonsoontawong, A., Punyim, P. and Juntub, S., 2018, A Study of Rear-End Traffic Collision Risk Reduction: A Case Study of National Highway Route 35, Final Report, Thairoads Foundation, Bangkok, Thailand. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-31

How to Cite

การุณสุนทวงษ์ อ., จันทร์ทับ ส., พันธ์ยิ้ม พ., ฉายากุล ว., & จิวัฒนกุลไพศาล ป. (2020). การประเมินประสิทธิผลของเครื่องหมายบนผิวจราจรแบบ Transverse Bar ที่มีต่อการลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุชนท้าย. Science and Engineering Connect, 43(1), 17–30. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/10620