ขนาดสัดส่วนร่างกาย: ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์

Main Article Content

ณัฐพล พุฒยางกูร
ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล

บทคัดย่อ

การวัดขนาดสัดส่วนร่างกายมีความสำคัญมากต่อการออกแบบเครื่องมืออุปกรณ์ตลอดจนสถานีงานอันเป็นส่วนหนึ่งของ การยศาสตร์ ซึ่งมีเป้าหมายในการศึกษา ข้อจำกัดในการทำงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อออกแบบ ปรับปรุงสภาวะงานให้เหมาะสมกับบุคคล ซึ่งปัญหาความไม่เหมาะสมระหว่างสัดส่วนร่างกายมนุษย์กับผลิตภัณฑ์นั้น จะไม่ปรากฏชัดเจนในสภาวะชีวิตปกติ เนื่องจากผู้ใช้ปรับตัวให้เข้ากับผลิตภัณฑ์ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ปัญหาดังกล่าวจะปรากฎอย่างชัดเจนในช่วงสถานการณ์ที่ไม่ปกติ หรือสภาวะวิกฤติ อีกทั้งยังมีสถานการณ์ทางสังคมและประเทศที่เปลี่ยนไป เช่น การเติบโตของจำนวนประชากรสูงอายุในประเทศไทย ทำให้ฐานข้อมูลที่อยู่เดิมขาดประสิทธิภาพไป


ผลการศึกษาพบว่าในประเทศไทยมีการทำฐานข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเฉพาะ มากกว่ากลุ่มตัวอย่างทั่วไป เนื่องจากเป็นโครงการระยะสั้นสามารถดำเนินการได้รวดเร็ว รวมถึงมีงบประมาณที่จำกัด แต่เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องศึกษาให้ครอบคลุมกลุ่มประชากร เพื่อให้เกิดการออกแบบ และใช้งาน เป็นผลให้เทคนิคที่ใช้ในปัจจุบันไม่สามารถเก็บข้อมูลโครงสร้างร่างกายของคนไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้


ซึ่งจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาเทคนิค หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดสัดส่วนร่างกายให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งนี้ในอดีตที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยเทคนิคการหาขนาดสัดส่วนร่างกายในรูปแบบต่างๆ แต่จากการวิเคราะห์ทำให้สรุปได้ว่าเทคนิคดังกล่าวยังคงไม่สามารถเป็นเทคนิคที่ใช้งานได้อย่างแพร่หลาย จึงได้มีการกำหนดทิศทางการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต ที่จำเป็นต้องมีในการวัดขนาดสัดส่วนร่างกาย
จำนวน 3 เรื่องคือ ความสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำในการวัดเป็นปัจจัยสำคัญ

Article Details

How to Cite
พุฒยางกูร ณ. ., & ลดาวิจิตรกุล ไ. . (2024). ขนาดสัดส่วนร่างกาย: ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 1(1), 97–111. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4833
บท
บทความวิชาการ

References

กิตติ อินทรานนท์ (2548). การยศาสตร์ (Ergonomics). หน้าที่ 53-58 สำนัพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ข้อมูลสถิติประชากรและบ้าน (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน). ระบบสถิติทางการทะเบียนกรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย (http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php)

ณัฐชา เมฆเจริญ และไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล (2555). การประมาณขนาดสัดส่วนร่างกายจากข้อมูลปัจจัยพื้นฐานของวัยรุ่นเพื่อใช้ในการออกแบบสถานีงาน. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555 (IE NETWORK 2012). 17-19 ตุลาคม. จังหวัดเพชรบุรี.

ณัฐพล พุฒยางกูร (2552). การวัดสัดส่วนร่างกายมนุษย์โดยโปรแกรมประยุกต์การหาขอบวัตถุจากภาพดิจิตอลแบบ 2 มิติ. วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพล เอื้อสุจริตวงศ์, องุ่น สังขพงศ์ และกลางเดือน โพชนา (2554). การวัดขนาดสัดส่วนร่างกายของแรงงานเพศหญิงในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลา. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554. 20-21 ตุลาคม 2554 (IE NETWORK 2011). หน้า 347-352. โรงแรมแอมบาสเดอร์ชิตี้. จังหวัดชลบุรี.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค). Size Thailand (2552). จังหวัดปทุมธานี.

สุดาวรรณ สี่ไพฑูลย์ (2554). ข้อมูลสัดส่วนร่างกายและอัตราส่วนขนาดร่างกายของเด็กนักเรียนประถมศึกษา เพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องเรือนในห้องเรียน. วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาวรรณ สี่ไพฑูรย์ และไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล (2563). การศึกษาเบื้องต้น การเปรียบเทียบอัตราส่วนความสูงกับระยะกางแขนระหว่างผู้สูงอายุกับผู้ใหญ่ตอนต้นในกลุ่มตัวอย่างคนไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2563 (IE NETWORK 2020). 6-8 พฤษภาคม 2563. โรงแรมพูลแมน พัทยา จี. จังหวัดชลบุรี.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (2544). ร้ายงานการสำรวจ และวิจัยขนาดโครงสร้างร่างกายคนไทย ระยะที่ 4 : พ.ศ. 2543 - 2544. กรุงเทพฯ.

Nathapon Puttyangkura and Phairoat Ladavichitkul ( 2 0 1 8 ) . An accuracy study of human body measurement by 2 -D photo from digital camera. The 5 th Southeast Asian Ergonomics Conference, 12-14 December 2018 (SEANES2018). Windsor Suites Hotel Sukhumvit Thailand.

Panero, Julius and Zelnik, Martin (1980). Human Dimension and Interior Space : A Source Book of Design Reference Standards.Page 181. Watson-Guptill Pubns (US). USA.WORAWUT KOAJAREON, PHAIROAT LADAVICHITKUL (2019). Minimum Walking Frame for Active Elder. International Journal of Mechanical and Production Engineering. Volume- 7, Issue-10, Oct.-2019. Japan.