การศึกษาข้อจำกัดทางวัฒนธรรมของคนไทยเบื้องต้น ในการศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกายของมนุษย์โดยใช้เครื่องมือวัดสัดส่วนร่างกาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้อมูลขนาดสัดส่วนร่างกายมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ หากนำข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มประชากรไปออกแบบจะส่งให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายจนถึงสุขภาพของผู้ใช้งานได้ จากการศึกษาพบว่าการศึกษาวิจัยขนาดสัดส่วนร่างกายในประเทศไทยยังคงมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่น้อยและขาดความหลากหลาย ทำให้เกิดการพิจารณาถึงสมมติฐานของข้อจำกัดหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างต่อการศึกษาในประเทศไทยอาจมาจากความไม่สะดวกบางประการที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว หรือวัฒนธรรม
จึงได้สำรวจข้อมูลความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความสะดวกเข้าร่วมการศึกษาวิจัยขนาดสัดส่วนร่างกายมนุษย์ในประเทศไทย รูปแบบการแต่งกาย ความสะดวกของสัดส่วนที่ถูกวัด และปัจจัยที่คาดว่ามีความเกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวโน้มความคิดเห็นและความสะดวกของกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนสรุปข้อจำกัดที่พบจากกลุ่มตัวอย่างกับความสอดคล้องกับประเด็นวัฒนธรรม ประเพณี หรือสังคมของประเทศไทย โดยนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในร่วมกับการออกแบบ หรือกำหนดเงื่อนไขในงานศึกษาอื่นๆ ต่อไป กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยเพศชายและหญิง จำนวนรวม 103 คน โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปี ถึง 40 ปี เป็นประชากรชาวไทยสัญชาติไทย มีร่างกายปกติ
ผลการศึกษาพบว่าประชากรโดยทั่วไปยังคงขาดความรู้ความเข้าใจต่อการศึกษาขนาดสัดส่วนร่างกาย ส่วนใหญ่ไม่เคยมีส่วนร่วมกับการศึกษาและมีความลังเลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่าง เสื้อผ้าที่กลุ่มตัวอย่างมีความสะดวกในการสวมใส่มากที่สุดคือ ชุดลำลอง พื้นที่ร่างกายต่ำกว่าเอวมีความไม่สะดวกสูงกว่าพื้นที่อื่น ทั้งนี้ความสะดวกส่วนตัว เพศของผู้วัด เครื่องมือที่ใช้วัด และสถานที่ใช้วัด ส่งผลอย่างชัดเจนต่อความสะดวกในการเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่าง อีกทั้งมีความคิดเห็นในเรื่องของการพัฒนาเครื่องมือวัดสัดส่วนร่างกายในแบบที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสร่างกาย
Article Details
References
Taifa I.W., and Desai D.A. (2017). Anthropometric measurements for ergonomic design of students’ furniture in India. Engineering Science and Technology, an International Journal. 20(1), 232-239.
กิตติ อินทรานนท์ (2548). การยศาสตร์ (Ergonomics). หน้าที่ 53-58 สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ณัฐพล พุฒยางกูร และไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล (2563). ขนาดสัดส่วนร่างกาย: ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์, วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1, 106-120.
Chen Y., and Wang Zem. (2020). Accident Causing Theory in Construction Safety Management. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science.
Kopecky M., Krejcovsky L., Svarc M. (2014). Anthropometric Measuring Tools and Methodology for the Measurement of Anthropometric Parameters, 8.Palacky University.
Nathapon Puttyangkura. (2009). An anthropometry by 2D Edge detectionprogram.Master's Thesis, Department of Industrial
Engineering,Facultyof Engineering, Chulalongkorn University.
Tewarit Prasertsri. (2014). The developement of an anthropometry application on table. Master's Thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University.
Sucha Chanem. (1993). Developmental psychology, Thai Wattana Panich,Bangkok.