การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันสนับสนุนการตัดสินใจเลือกเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาด้านสุขภาพของวัยทำงานในประเทศไทย เพิ่มสูงขึ้นทุกปี พร้อมกับอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทย อันเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สะท้อนให้เห็นว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ประเทศไทยพบประชากรที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจำนวนมาก จากการบริโภคเกินความจำเป็น ไม่ถูกหลักโภชนาการก่อให้เกิดโรคเมแทบอลิกซินโดรม หรือ โรคอ้วน คือภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ นำมาซึ่งและสาเหตุของโรคเรื้อรัง โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งโรคโควิด-19 เกิดผู้เสียชีวิตมีประวัติเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญโดยได้ออกแบบแอปพลิเคชัน ใช้หลักทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) มีกระบวนการ 7 ขั้นตอน แต่ขอนำเสนอการวิเคราะห์ระบบ 3 ขั้นตอนแรก ได้แก่ 1. เข้าใจปัญหา 2. ศึกษาความเป็นไปได้ 3. วิเคราะห์ โดยใช้ผังก้างปลา (Fishbone Diagram) เพื่อระบุสาเหตุของปัญหา แล้วนำมาสร้างผังงาน (Flow Chart) และสร้างแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) จากนั้นใช้หลักการออกแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming :OOP) ตามทฤษฎีการออกแบบ UX/UI (User Experience : UX) / (User Interface : UI) แต่มีข้อจำกัดด้านการติดตาม เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถติดตามการเลือกเมนูอาหารในแต่ละมื้อของผู้ใช้งานได้ ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้เชียวชาญทางด้านโภชนาการ จำนวน 5 ท่าน พบว่าด้านกระบวนการทำงานความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.2 และ S.D = 0.54) ส่วนความเหมาะสมด้านการออกแบบหน้าจออยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.4 และ S.D = 0.34) และมีความเหมาะด้านเทคนิคที่ใช้อยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.96 และ S.D = 0.4) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง แต่ยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถรองรับระบบปฏิบัติ iOS ดังนั้น ผู้วิจัยท่านอื่น สามารถนำไปพัฒนาหรือต่อยอดได้ในภายภาคหน้า
Article Details
References
AccountingAIS03. (ออนไลน์). (2562). การสร้างแบบจำลองข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://accountingais03.wixsite.com/mysite/post/บทที่-13-การสร้างแบบจำลองข้อมูล
Greedisgoods. (ออนไลน์). (2560). Taro Yamane's formula for calculating group sample size. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2564, จาก https://greedisgoods.com/taro-yamane/
kerati. (ออนไลน์). (2560). System Development Life Cycle SDLC Retrieve. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://keratinuallaong.blogspot.com/2012/03/system-development-life-cycle-sdlc.html
techstarthailand. (ออนไลน์). (2563). 10 แนวทางเพื่อการออกแบบ Database ให้ดีที่สุด สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.techstarthailand.com/blog/detail/10-Best-Database-Design-Practices/1176
คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (ออนไลน์). (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ปีที่ 2. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2564, จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4931?fbclid=IwAR2qqy96VQc6aOhBr5GEMEMJ1EpgUJm1U2-NR0nos7tBanRyleHxSpYb30s&locale-attribute=th
ประชาชาติธุรกิจ. (ออนไลน์). (2564). ศบค. พบติดโควิดวันนี้ (21 เม.ย.) เพิ่มขึ้น 1,458 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 คน. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.prachachat.net/general/news-652422
พสุ เดชะรินทร์. (ออนไลน์). (2556). Smartphone อวัยวะชิ้นที่ 33 หรือ สิ่งเสพติด?. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/515945
มติชนออนไลน์. (ออนไลน์). (2560). เปิดพฤติกรรมสุขภาพคนกรุง พบ 5 โรคป่วยพุ่ง! ผู้ชาย กทม.มีปัญหาอ้วนสุด. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_771980
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ออนไลน์). (2564). ยันไว้ มีพุงอันตรายแค่ไหน ภาวะน้ำหนักเกิน ภัยร้ายต่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564,จาก https://www.thaihealth.or.th/ Content/54262-มีพุงอันตรายแค่ไหน%20ภาวะน้ำหนักเกิน%20ภัยร้ายต่อสุขภาพ.html
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ออนไลน์). (2564). ยันไว้ อย่าให้อ้วน สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/54294-ยันไว้%20อย่าให้อ้วน%20.html
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ออนไลน์). (2564). โรคอ้วน ประตูสู่โรคร้าย. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/54224-โรคอ้วน%20ประตูสู่โรคร้าย.html
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (ออนไลน์). (2564). โรคอ้วน ประตูสู่ โรคร้าย ภัยเงียบอันตรายต่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/ Content/54221- โรคอ้วน%20ประตูสู่%20โรคร้าย%20ภัยเงียบอันตรายต่อสุขภาพ.html