ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของของเสียจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตเก้าอี้สำนักงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกระบวนการผลิตเก้าอี้สำนักงานก่อนปรับปรุง การผลิตและหลังปรับปรุงการผลิต เพื่อให้สามารถทำการผลิตได้เพียงพอ ลดค่าใช้จ่ายของของเสียที่เกิดจากการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้สอดคล้องกับแผน BCG in Action ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เกิดขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) ผลการประเมินค่าปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์พบว่า ก่อนปรับปรุงกระบวนการผลิตมีของเสียมีปริมาณคาร์บอนฟุต พริ้นท์เท่ากับ 189.08 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หลังปรับปรุงกระบวนการผลิตของเสียมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่ากับ 9.13 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า กล่าวอีกนัยหนึ่งปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของของเสียหลังกระบวนการผลิตลดลง 95.17% ของปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของของเสียก่อนปรับปรุงกระบวนการผลิต นอกจากนี้ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของของเสียในช่วงก่อนปรับปรุงกระบวนการผลิตและ หลังปรับปรุงกระบวนการผลิตมีปริมาณลดลงเท่ากับ 1.93% และ 0.097% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตเก้าอี้สำนักงาน ข้อมูลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเมื่อมี การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-design of Products: ECD) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 นำมา ซึ่งประโยชน์ในการเติบโตของธุรกิจโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ให้สามารถผลิตสินค้าส่งออกต่างประเทศในอนาคตต่อไปได้
Article Details
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เล่มยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๖๔ (เล่มรายงานหลัก). สืบค้น 11 พฤษภาคม 2564, จาก http://lowcarboneec.tgo.or.th/custom/download/file/menu/12
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐. สืบค้น 11 พฤษภาคม 2564, จากhttps://www.mhesi.go.th/index.php/stg-policy/ 930-2563-2570.html
ISO 14040:2006 Environmental management — Life cycle assessment — Principles and framework, International Organization for Standardization.
ISO 14044:2006 Environmental management — Life cycle assessment — Requirements and guidelines, International Organization for Standardization.
บัณฑิตา ผาจวง. (2562). การลดเวลาการผลิต และลดของเสียในกระบวนการผลิตเก้าอี้ กรณีศึกษา : บริษัทโมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ดร.ปริญญ์ บุญกนิษฐ์ และ ดร.อรรคเจตต์ อภิขจรศิลป์. (2542). การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจในงานอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาด้านการเพิ่มผลผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
สุบิน พัฒนสกุลลอย และ รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย. (2557). การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายใต้แนวคิดกรีนซัพพลายเชน สู่การบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา ฝาน้ำดื่ม บมจ.ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 3(1), 51-60.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO). สืบค้น 7 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.tgo.or.th/