การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสายการประกอบอุตสาหกรรม เครื่องบรรจุภัณฑ์ระบบแนวตั้ง

Main Article Content

ธวัชชัย พงษ์สนาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตของสายการประกอบในอุตสาหกรรมเครื่องบรรจุภัณฑ์ระบบแนวตั้งรุ่น ABC 2520 DE ในบริษัทกรณีศึกษา และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสายการ ประกอบด้วยแนวคิดแบบลีน โดยการใช้เครื่องมือ เทคนิค หรือแนวทางของลีน (LEAN)   ที่นํามาใช้ ในกระบวนการการผลิตเพื่อวิเคราะห์หาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น ด้วย  การสร้างมาตรฐานการทํางาน ตามหลักการทฤษฏีการศึกษางาน ซึ่งประกอบไปด้วย   การกําหนดเวลาเผื่อ  การกําหนดเวลามาตรฐาน แผนภูมิกระบวนการไหลและแผนภาพการไหล  ตลอดตจนการสุ่มตัวอย่างงาน (Work sampling) เพื่อช่วยลดกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่มออกไปและทําให้พนักงานแต่ละคน ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน  ซึ่งเป็นการลดความผันแปรจากวิธีทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


          ผลการวิจัยพบว่าระบบการผลิตของสายการประกอบด้วยแนวคิดแบบลีนมาประยุกต์ใช้งาน  ในบริษัทกรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องบรรจุภัณฑ์ระบบแนวตั้งรุ่น ABC 2520 DE   พบว่าแนวคิดนี้สามารถนํามาใช้ในการปรับปรุงสายการประกอบ และเมื่อได้ทําการวัดผลและประเมินผลการปรับปรุงประสิทธิภาพการทํางาน ด้วยดัชนีชี้วัด (Key performance indicator: KPIs) เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุงตามองค์ประกอบหลักของอุปสงค์การผลิต 3 ตัว คือ  ประสิทธิภาพ  คุณภาพ  และการส่งมอบ (Productivity: P, Quality: Q, Delivery: D) พบว่าดัชนีแต่ละตัวมีค่าที่ดีกว่าของเดิม

Article Details

How to Cite
พงษ์สนาม ธ. . (2020). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสายการประกอบอุตสาหกรรม เครื่องบรรจุภัณฑ์ระบบแนวตั้ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 1(1), 14–23. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/4741
บท
บทความวิจัย

References

กัญจนา เบ็ญจศิริวรรณ. (2551). การศึกษาวิธีการทำงานและการปรับปรุงโลจิสติกส์: ภาคการผลิต ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการจัดการโซ่อุปทาน แบบบูรณาการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชำนาญ รัตนากร. (2553). การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง. Retrieved from http://www.tpmconsulting.org.

นวดี กระจายวงศ์ และณวรา จันทรัตน์. (2551). การประยุกต์ใช้เทคนิคการศึกษาวิธีการทำงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง.สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหการเกษตร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

มาโนช ริทินโย.(2551). การศึกษางาน (Work Study).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือนครราชสีมา.

สุนันท์ ฤกษ์ศิระทัย. (2552). การศึกษาการทำงานเพื่อการเพิ่มผลผลิตสำหรับเครื่องจักรทดสอบหัวอ่านฮาร์ดดิสก็. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อนุสรณ์ พูนนาผล. (2551).การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการประกอบตามแนวคิดระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี, งานนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อมรรัตน์ วัดเล็ก.(2557).การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวางแผนการผลิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน,คณะโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Eneyo, Emmanuel S., & Gertrude P. Pannirselvam. (1998). The use of simulation in facility layout design: a practical consulting experience. Proceedings of the 30th conference on winter simulation. IEEE Computer Society Press.