แนวทางการลดของเสียในกระบวนการประกอบเพลาเกี่ยวสายเบรก กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดของเสียในกระบวนการประกอบเพลาเกี่ยวสายเบรก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการปฏิบัติงานของพนักงาน และการสัมภาษณ์วิศวกรและพนักงานผลิตเพลาเกี่ยวสายเบรก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการ Why-Why Analysis หาปัญหาและสาเหตุการเกิดของเสีย และประชุมระดมสมองเพื่อหาแนวทางการลดของเสียโดยใช้เครื่องมือการจัดการคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการประกอบเพลาเกี่ยวสายเบรก มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมวัตถุดิบ 2) ขั้นประกอบชิ้นส่วน และ 3) ขั้นตรวจสอบชิ้นงาน ซึ่งชิ้นงานที่เป็นของของเสียส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นฟองอากาศ มีรอยหนามลวดเชื่อม และรอยตามด สาเหตุเกิดจากพนักงานไม่ปฏิบัติงานตามขั้นตอน และเครื่องจักรบางส่วนมีสภาพเก่า ผลจากการประชุมระดมสมองเสนอแนะให้สร้างคู่มือปฏิบัติงานการประกอบเพลาเกี่ยวสายเบรกที่มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนเพื่อนำไปฝึกอบรมพนักงาน และผลจากการปรับปรุง สามารถลดของเสียจากเดิม 2.78 % คงเหลือ 1.97%
Article Details
References
บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดสมุทรปราการ. (2561). รายงานประจำปี พ.ศ. 2561. สมุทรปราการ.
พรสุดา ยอดบุนอก. (2553). การลดของเสียในกระบวนการผลิตฝาครอบชิ้นส่วนซีดีติดรถยนต์. สืบคันเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://www.dms.eng.su.ac.th.
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2560). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2560-2562:อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561. จาก https://www.krungsri.com /bank/getmedia /08a29fa9-6065-446c-afe5-f478278b04f2/10_Auto_Parts_2017_TH.aspx.
สุพาขวัญ อ่อนละมูล เทียนสุดา สุนทรชื่น และพิชชา มีผิวสม. (2559. แนวทางการลดของเสียในกระบวนการผลิตพาเลทไม้ โดยใช้ทฤษฎีการควบคุมคุณภาพ กรณีศึกษา บริษัท บี. พี. แอล.แพ็คกิ้ง จำกัด. บัณฑิตนิพนธ์วิจัย. หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.