การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอิฐกลวงก่อแผงไม่รับแรง กรณีศึกษา โรงอิฐบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ สนใจธรรม
พิเชฐ พุ่มเกษร
จงรักษ์ สมใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอิฐกลวงก่อแผงไม่รับแรง โดยการลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต การค้นหาขั้นตอนการทำงานที่ทำให้เกิดของเสีย โดยประยุกต์ใช้หลักการสมดุลมวล พบว่า ขั้นตอนการเผาอิฐเกิดของเสียมากที่สุด คือ 1) ลักษณะคราบรอยไหม้/เขม่าควันที่ผิวอิฐ ประมาณร้อยละ 10, 2) ลักษณะอิฐเสียรูป (บิดงอ/รอยแตกร้าว) ประมาณร้อยละ 2 การวิเคราะห์หาสาเหตุเฉพาะของเสียที่มีลักษณะคราบรอยไหม้/เขม่าควันที่ผิวอิฐเท่านั้น โดยประยุกต์ใช้หลักการ Why - Why Analysis และการสังเกตการณ์ พบว่า คราบรอยไหม้/เขม่าควัน เกิดขึ้นขณะที่แกลบที่อยู่ด้านบนถล่มลงมายังกองแกลบด้านล่างที่กำลังเผาไหม้อยู่ ทำให้เกิดการปะทุของเปลวเพลิงจากการเผาไหม้อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นผนังเตาที่มีลักษณะเป็นร่องแนวขวาง ทำให้แกลบเคลื่อนตัวลงมาด้านล่างไม่ต่อเนื่อง แผ่นเมทัลชีสถูกนำมาเป็นวัสดุในการปรับปรุงแผ่นผนังเตา พบว่า แกลบด้านบนมีการเคลื่อนตัวลงสู่ด้านล่างอย่างต่อเนื่อง ปรากฎการณ์การปะทุของเปลวเพลิงลดลง ส่งผลทำให้อิฐที่มีลักษณะคราบรอยไหม้/เขม่าควันมีปริมาณลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.7 หรือคิดเป็นมูลค่าของเสียที่ลดลงประมาณ 7,763 บาท/เตา และมีรอบอายุการใช้งานที่ 12 เตา นอกจากนี้ แผ่นผนังเตาที่ได้รับการปรับปรุงสามารถลดการสูญเสียความร้อนที่ผ่านแผ่นผนังเตา ส่งผลทำให้ปริมาณการใช้แกลบลดลงเหลือเพียงประมาณ 18 ตัน/เตา หรือคิดเป็นมูลค่าแกลบที่ลดลงได้ประมาณ 3,800 บาท/เตา 

Article Details

How to Cite
สนใจธรรม ณ. ., พุ่มเกษร พ. ., & สมใจ จ. . (2024). การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอิฐกลวงก่อแผงไม่รับแรง กรณีศึกษา โรงอิฐบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา . วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบ้านสมเด็จ, 4(2), 14–26. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JEITB/article/view/3173
บท
บทความวิจัย

References

กฤตินนท์ วรรณสอน และคณะ. (2565). การจัดสมดุลสายการผลิตกระบวนการผลิตประตูปิดฝากระโปรงท้ายรถยนต์ กรณีศึกษา: โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2565, คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประสาท ภูปรื้ม และคณะ. (2565). การปรับปรุงกระบวนการผลิตพันช์: กรณีศึกษา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2565, คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภัทรพงศ์ คงธีรภาพ และ ณรงค์ฤทธิ์ สนใจธรรม. (2566) การลดของเสียในกระบวนการผลิตชีสแผ่น: กรณีศึกษา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2566. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฤดี นิยมรัตน์ และคณะ. (2564). ศักภาพการผลิตอิฐดินเผาของอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) ปีที่ 27 ฉบับที่ 2, หน้า 66-81

สุทัศน์ จันบัวลา (2555). การพัฒนาส่วนผสมผลิตภัณฑ์อิฐดินเผาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ปีที่ 5 ฉบับที่ 1, หน้า 13-21

อนุสรณ์ รัตนะธนโอภาส และคณะ. (2556). การปรับปรุงประสิทธิ ภาพทางความรอนของเตาเผาอิฐมอญ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการการพัฒนาชนบท ประจำปี 2556. กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น