ระบบรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเคลื่อนที่ระยะไกล MSU-SOS®

Main Article Content

พรชัย ชันยากร
ยงชัย นิละนนท์
บัณฑิต กังวานณรงค์กุล

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและพิการเป็นอันดับ 2 โดยมีอัตราการเกิดอยู่ที่ 1,880 รายต่อประชาการ 1 แสนราย อาการของโรคเกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบจากลิ่มเลือดอุดตันหรือแตกจนมีเลือดออกในสมอง ทำให้เซลล์สมองเสียหายและตายลงหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องภายใน 270 นาที ผู้ป่วยมีโอกาสความพิการหรือเสียชีวิตสูง ระบบการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเคลื่อนที่ระยะไกล เพิ่มโอกาสของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลให้สามารถเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาสมองและบุคลากรชุดปฎิบัติงานที่ผ่านการฝึกตามมาตรฐานอย่างรวดเร็วที่สุด โดยศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาล ศิริราช และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันออกแบบ พัฒนา และเปิดใช้งานระบบการรักษาที่ชื่อว่า MSU-SOS® ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. 2561 ครอบคลุม 8 พื้นที่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยได้รับบริการรวม 1,414 ราย สามารถเพิ่มอัตราการเข้าถึงยาสลายลิ่มเลือด (rtPA) 2.8 เท่า และลดอัตราพิการลง 2 เท่าเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยระบบปกติ โดยบทความนี้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการเฉพาะทางวิศวกรรมเทียบกับตัวชี้วัดสำคัญด้านเวลา โดยใช้ข้อมูลจริงจากการปฎิบัติงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการออกแบบระบบหรือกระบวนการทางวิศวกรรมสำหรับการรักษาโรคฉุกเฉินทางไกลที่กรอบเวลามีผลต่อผลการรักษาโดยตรง

Article Details

How to Cite
[1]
ชันยากร พ. ., นิละนนท์ ย. ., และ กังวานณรงค์กุล บ. ., “ระบบรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเคลื่อนที่ระยะไกล MSU-SOS® ”, TEEJ, ปี 4, ฉบับที่ 2, น. 19–23, ส.ค. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

Nilanont, Y., Chanyagorn, P., Shukij, K. et al. “Comparing performance measures and clinical outcomes between mobile stroke units and usual care in underserved areas,” Neurological Sciences 44, vol. 44, no. 4, pp. 1261–1271, 2023.

Nilanont, Y., Shukij, K., Pengtong, W. et al. “Comparing Process, Performance Measures and Clinical Outcome Between Mobile Stroke Unit and Usual Care in Underserved Areas,” in Proc. of International Stroke Conference 2021, Session title: Cerebrovascular Systems of Care, vol. 52, AP123, March 2021.

Lyko, T., et al., “Improving quality of experience in adaptive low latency live streaming,” Multimedia Tools and Applications, Vol. 33, pp. 15957–15983, 2023.

Biernacki, A. and K. Tutschku, “Performance of HTTP video streaming under different network conditions,” Multimedia Tools and Applications, vol. 72, no.2, pp. 1143-1166, 2014.

Chen M., Yang J., Hao Y., Mao S., Hwang K., “A 5G Cognitive System for Healtcare,” Big Data and Cognitive Computing, vol.1 no. 2, pp. 1-15, 2017.

R. S. H. Istepanian, N. Y. Philip and M. G. Martini, "Medical QoS provision based on reinforcement learning in ultrasound streaming over 3.5G wireless systems," IEEE Journal on Selected Areas in Communications, vol. 27, no. 4, pp. 566-574, May 2009.

มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท อาร์เอ็มเอ ออโตโมทีฟ จำกัด, สิทธิบัตรการประดิษฐ์ “ยานพาหนะสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสี,” เลขที่สิทธิบัตร 94146, วันที่ขึ้นทะเบียน 17 มิถุนายน 2566.

Yongchai Nilanont and Pornchai Chanyagorn, “A Mobilized Diagnostic System,” PCT Patent Filling Number PCT/TH2022/000026, PCT Patent Office, Filling date 29 June 2022.

ยงชัย นิละนนท์ และ พรชัย ชันยากร, “MSU-SOS – Stroke One Stop,” เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน เลขที่ 231100724, วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2566.