-
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์(Duties of Authors)
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
- ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
- ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างเคร่งครัด
- ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
- ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการศึกษาวิจัยจริง
- ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการศึกษาวิจัยนี้ และส่งหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนการศึกษาวิจัย
- ผู้นิพนธ์ต้องพิจารณาและรับรองความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และ/หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่นๆ สำหรับงานวิจัยของตน
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)- บรรณาธิการมีหน้าที่ดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ปราศจากอคติ และยุติธรรม โดยคัดเลือกผู้ประเมินบทความที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในหัวข้อหรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
- บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความ โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสาร
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และคณะผู้บริหาร
- หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นหรือการตีพิมพ์ซ้ำในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์หลักโดยทันที เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความและรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาที่กำหนด
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นได้อย่างอิสระ โดยผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
- ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากคุณภาพของบทความเป็นสำคัญ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความ
- หากตรวจพบบทความที่ประเมินมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที