การจัดลำดับความสำคัญโครงการก่อสร้างชลประทานในที่ราบระหว่างภูเขา โดยวิธี AHP และ FAHP : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ ทานะขันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เหมือนมาศ วิเชียรสินธุ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • วีระเกษตร สวนผกา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การคัดเลือกโครงการ, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์, กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี, โครงการชลประทาน

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ : การส่งน้ำชลประทานในพื้นที่ราบระหว่างภูเขามีความแตกต่างจากการส่งน้ำในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบลุ่ม เนื่องจากในพื้นที่ราบระหว่างภูเขา สภาพภูมิประเทศเหมือนกับเนินเขา มีความลาดชันสูงต่ำสลับกัน ทำให้การส่งน้ำไปยังพื้นที่เกษตรกรรมค่อนข้างยากลำบาก ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาในการทำเกษตรกรรม แม้ว่าภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือ แต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ทุกโครงการที่ต้องการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคัดเลือกโครงการที่มีความพร้อมและความจำเป็น โดยพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขาในจังหวัดลำปางและจังหวัดพะเยา กรณีศึกษาทั้งหมดเป็นโครงการในแผนก่อสร้าง 5 โครงการ ประจำปีงบประมาณ 2567 ของกรมชลประทาน

วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาใช้วิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) และวิธีกระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี (FAHP) การวิเคราะห์แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การหาปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกโครงการ การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และการเปรียบเทียบผลจาก 2 วิธีข้างต้น โดยข้อมูลได้จากการสอบถามบุคลากรที่มีส่วนในการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างและการจัดลำดับความสำคัญโครงการของกรมชลประทาน

ผลการวิจัย : จากผลการวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยหลักและปัจจัยรองด้วยวิธีการวิเคราะห์ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) และวิธีการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี (FAHP) พบว่า ปัจจัยหลักที่สำคัญในการคัดเลือกโครงการ คือ ด้านเกษตรกรรม และด้านวิศวกรรม ด้วยค่าน้ำหนักตามแบบจำลอง AHP 0.364 และ 0.259 ตามลำดับ และค่าน้ำหนักตามแบบจำลอง FAHP มีค่าเท่ากับ 0.577 และ 0.332 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยรองที่มีผลมาก คือ พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งที่เพิ่มขึ้นหลังจากมีโครงการ จำนวนอาคารชลประทาน แหล่งน้ำต้นทุน และพื้นที่ได้รับประโยชน์ ด้วยค่าน้ำหนักตามแบบจำลอง AHP 0.276, 0.100, 0.101 และ 0.100 ตามลำดับ และค่าน้ำหนักตามแบบจำลอง FAHP 0.306, 0.111, 0.108 และ 0.105 ตามลำดับ โดยจากการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลของปัจจัยหลักและปัจจัยรองในแต่ละด้าน พบว่า ผลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องสมเหตุสมผล โดยมีค่าความสอดคล้อง ( ) น้อยกว่า 0.10 ผลการจัดลำดับความสำคัญโครงการด้วยวิธีการวิเคราะห์ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) เป็นดังนี้ (1) จัดระบบน้ำโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่วัง (ฝายแม่ปุง) ระยะที่ 1 (2) จัดระบบน้ำโครงการลำน้ำยาว-แม่วังตอนล่างฝั่งขวา (ฝายเข้าซ้อนฝั่งขวา) (3) ปรับปรุงคลองส่งน้ำฝั่งซ้าย โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านแม่ต๋ำ (4)จัดระบบน้ำโครงการอ่างเก็บน้ำแม่กำลัง ระยะที่ 2 และ        (5) จัดระบบน้ำโครงการอ่างเก็บน้ำแม่พริก (ผาวิ่งชู้) ระยะที่ 2 ด้วยค่าน้ำหนัก 0.292, 0.238, 0.172, 0.151 และ 0.147 ตามลำดับ ส่วนผลการจัดลำดับด้วยวิธีการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี (FAHP) ได้ลำดับที่ 1 และ 2 เช่นเดียวกับ AHP ส่วนลำดับ 3 และ 4 ได้ผลใกล้เคียงแต่สลับลำดับกัน ผลลำดับสุดท้ายเหมือนกัน ด้วยค่าน้ำหนักดังนี้ 0.375, 0.318, 0.138, 0.094 และ 0.075 ตามลำดับ

สรุป : เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการจัดลำดับโครงการจากการการวิเคราะห์ 2 วิธี พบว่า วิธีการ FAHP ส่งผลให้โครงการที่มีความโดดเด่นอยู่แล้วในด้านใดด้านหนึ่งมีความโดดเด่นชัดขึ้น และโครงการที่มีความโดดเด่นน้อยมีความโดดเด่นน้อยลงไปกว่าเดิม หากมีข้อมูลโครงการที่ชัดเจนและสมบูรณ์เพียงพอแล้วการใช้วิธี AHP ซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานสามารถใช้ได้เหมือนกัน ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกัน โดยในงานวิจัยนี้ ผลของการคัดเลือกโครงการอันดับ 1 และอันดับ 2 ได้ผลเหมือนกันจากการคัดเลือกทั้ง 2 วิธี ส่วนโครงการสองลำดับแรกที่ได้รับความสำคัญสูงนั้น เกิดเนื่องจากโครงการทั้งสองมีความโดดเด่นมากด้านการเกษตร สามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น และด้านวิศวกรรมมีจำนวนอาคารชลประทานมาก ทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์จากระบบชลประทานมากขึ้น

การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ : การตัดสินใจโดยวิธี FAHP ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะสามารถจัดการกับการตัดสินใจที่ไม่แน่นอนเนื่องจากมีข้อมูลโครงการที่ไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลมีความชัดเจนและสมบูรณ์เพียงพอ วิธี AHP ยังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สามารถวิเคราะห์ได้ง่ายกว่า ผลจากการวิเคราะห์ทำให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อการคัดเลือกโครงการก่อสร้างชลประทานในที่ราบระหว่างภูเขา และช่วยจัดลำดับความสำคัญโครงการ การใช้แบบจำลองนี้ทำให้หน่วยงานนำผลการวิเคราะห์ไปวิเคราะห์อันดับโครงการพื้นที่เกษตรกรรมที่มีลักษณะเดียวกันได้ เพื่อให้โครงการที่มีประโยชน์ต่อชุมชนได้รับการสนับสนุน ช่วยให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ

References

Bureau of Central Land Consolidation, 2020, Land Consolidation Master Plan, B.E. 2560-2579 [Online], Available: https://consolidation.rid.go.th/main/index.php/th/ 2019-08-26-03-56-19. [12 June 2023] (In Thai)

Royal Thai Government Gazette, 2021, Budget Expenditure Act for Fiscal Year 2022 [Online], Available: https://www.bb.go.th/topic3.php?catID=1364&gid=862&mid=54. [12 June 2023] (In Thai)

Royal Thai Government Gazette, 2022, Budget Expenditure Act for Fiscal Year 2023 [Online], Available: https://www.bb.go.th/topic3.php?catID=1382&gid=862&mid=545. [12 June 2023] (In Thai)

Tansirikongkol, W., 1999, AHP The Most Popular Decision Process in the World, Graphic and Printing Center, Bangkok, pp. 1-254. (In Thai)

Wu, H., Tzeng, G. and Chen, Y., 2009, “A Fuzzy MCDM Approach for Evaluating Banking Performance based on Balanced Scorecard,” Expert Systems with Applications, 36 (6), pp. 10135-10147.

Luenam, P., 2013, “Prioritized Factors using FUZZY Analytic Hierarchy Process: Understanding Concepts and ITS Application,” Modern Management Journal, 11 (1), pp. 1-12.

Saaty, T.L., 1980, The Analytic Hierarchy Process, McGraw-Hill, New York, pp. 1-312.

Zadeh, L.A., 1965, “Fuzzy Sets,” Information and Control, 8 (3), pp. 338-353.

Chen, Y.C., Lien, H., Tzeng, G.H. and Yang, L.S., 2011, “Fuzzy MCDM Approach for Selecting the Best Environment-watershed Plan,” Applied Soft Computing, 11 (1), pp. 265-275.

Chang, D.Y., 1996, “Applications of the Extent Analysis Method on Fuzzy AHP,” European Journal of Operational Research, 95 (3), pp. 649-655.

Verma, A.K., Srividya, A. and Prabhu Gaonkar, R.S., 2007, Fuzzy-Reliability Engineering, Narosa Publishing House, New Delhi, pp. 1-289.

Khanam, S., 2019, “A Fuzzy AHP Approach for Evaluation of TQM Enablers and IT Resources,” International Journal of Advanced Research in Computer Engineering & Technology, 8 (8), pp. 386-391.

Gopalan, R., Sreekumar. and Satpathy, B., 2015, “Evaluation of Retail Service Quality–A Fuzzy AHP Approach,” Benchmarking: An International Journal, 22 (6), pp. 1058-1080.

Zhu, K.J., Jing, Y. and Chang, D.Y., 1999, “A Discussion on Extent Analysis Method and Applications of Fuzzy AHP,” European Journal of Operational Research, 116 (2), pp. 450-456.

Chan, F.T., Kumar, N., Tiwari, M.K., Lau, H.C. and Choy, K.L., 2008, “Global Supplier Selection: a Fuzzy-AHP Approach,” International Journal of Production Research, 46 (14), pp. 3825-3857.

Saaty, T.L., 1990, “The Analytic Hierarchy Process,” European Journal of Operational Research, 48 (1), pp. 9-26.

Ahmed, F. and Kilic, K., 2018, “Fuzzy Analytic Hierarchy Process: A Performance Analysis of Various Algorithms,” Fuzzy Sets and Systems, 362, pp. 110-128.

Lekaphon, S., Vanichavetin, C. and Sornworng, P., 2021, “Study Factors Affecting the Quality of Small Reservoir Construction,” 14th Thaicid National e-Symposium 2021, 28-30 July 2021, Bangkok, Thailand, pp. 141-150. (In Thai)

Gorener, A., 2012, “Comparing AHP and ANP: An Application of Strategic Decisions Making in a Manufacturing Company,” International Journal of Business and Social Science, 3 (14), pp. 194-208.

Ariff, H., Sapuansalit, M., Ismail, N. and Nukman, Y., 2008, “Use of Analytical Hierarchy Process (AHP) for Selecting the Best Design Concept,” Jurnal Teknologi, 49 (A), pp. 1-18.

Wang, X. and Durugbo, C., 2013, “Analyzing Network uncertainty for Industrial Product-Service Delivery: A Hybrid Fuzzy Approach,” Expert Systems with Applications, 40 (11), pp. 4621-4636.

Numnaphol, S. and Ditthaki, P., 2018, “Prioritizationof Irrigation Project Developmentby Analytic Hierachy Process: A CaseStudy of Lower PakphanangWater Transmission and Maintenance Project,” 19th National Graduate Conference, 9 March 2018, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, pp. 254-266.

Duangkert, P., Thepprasit, C. and Vudhivanich, V., 2022, Prioritization of Floodgate: Pathumthani Provincial Irrigation Office Case Study,” Thai Socity of Agricultural Engineering Journal, 28 (1), pp. 32-45.

Comparison of project priority weights between AHP and FAHP methods

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-26

How to Cite

ทานะขันธ์ ณ., วิเชียรสินธุ์ เ. ., & สวนผกา ว. . (2025). การจัดลำดับความสำคัญโครงการก่อสร้างชลประทานในที่ราบระหว่างภูเขา โดยวิธี AHP และ FAHP : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา. Science and Engineering Connect, 48(1), 3–21. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/8625