การเลือกประเภทของระบบส่งน้ำชลประทานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐ แก้วใย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เหมือนมาศ วิเชียรสินธุ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ประเภทของระบบส่งน้ำชลประทาน, ระบบส่งน้ำทางน้ำเปิด, ระบบส่งน้ำทางน้ำปิด, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ลำดับขั้นแบบฟัซซี

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ : ระบบส่งน้ำชลประทานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำให้มีความเหมาะสม ทั่วถึง และเพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการเลือกประเภทของระบบส่งน้ำชลประทานให้สอดคล้องกับการใช้งานอย่างแน่ชัด อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านต่าง ๆ ในการใช้งานให้เหมาะสมกับพื้นที่ การวิจัยในครั้งนี้จึงต้องการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ และทางเลือกประเภทระบบส่งน้ำ เปรียบเทียบระหว่างระบบส่งน้ำแบบทางน้ำเปิดและระบบส่งน้ำแบบทางน้ำปิด โดยใช้พื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีความจำเป็นและความต้องการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก

วิธีดำเนินการวิจัย : ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นแบบคลุมเครือ (FAHP) เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้จากงานวิจัยที่ผ่านมา ทำให้ได้ปัจจัยหลัก 5 ปัจจัย และปัจจัยรอง 15 ปัจจัย จากนั้น ให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ตลอดจนมีประสบการณ์ด้านการก่อสร้างและบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน เป็นผู้ให้ค่าน้ำหนักความสำคัญสำหรับการเลือกประเภทระบบส่งน้ำชลประทาน เปรียบเทียบค่าน้ำหนักความสำคัญที่ได้กับค่าของโครงการระบบส่งน้ำที่ก่อสร้างจริงของกรมชลประทาน จำนวน 8 โครงการ

ผลการวิจัย : ปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญมากในการคัดเลือก ได้แก่ จำนวนพื้นที่ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการต่อครัวเรือน ความลาดชันของพื้นที่ อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้รับ และการวางแนวระบบชลประทาน ตามลำดับ ในเขตพื้นที่ EEC ผลการศึกษาแนะนำว่า ระบบส่งน้ำชลประทานแบบทางน้ำปิดเหมาะสมมากกว่าระบบส่งน้ำชลประทานแบบทางน้ำเปิด ด้วยค่าความสำคัญ 0.511 และ 0.489 และเมื่อเปรียบเทียบประเภทของระบบส่งน้ำที่เหมาะสมที่ได้ทำการทดสอบโดยใช้แบบจำลองเทียบกับโครงการที่ก่อสร้างแล้ว พบว่า มีความสอดคล้องกับโครงการที่ได้ก่อสร้างจริงทั้ง 8 โครงการ

สรุป : ในเขตพื้นที่ EEC ระบบส่งน้ำชลประทานแบบทางน้ำปิดเหมาะสมมากกว่าระบบส่งน้ำชลประทานแบบทางน้ำเปิด

การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ : ผลการศึกษานี้สามารถแนะนำปัจจัยที่สำคัญและค่าน้ำหนักความสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเลือกประเภทระบบส่งน้ำชลประทาน เพื่อให้เกิดความสะดวกและมีหลักการในการเลือกประเภทระบบส่งน้ำในการก่อสร้างโครงการอื่นในเขตพื้นที่ EEC ของกรมชลประทานได้ในอนาคต

References

Royal Irrigation Department. 20-Year National Strategy (B.E. 2018-2037) [Online]. Available: https://www.rid.go.th/_data/documents/rid_strategy_plan/20years_plan/strategie_2561-2580.pdf. [30 September 2018] (In Thai)

Vudhivanich, V.2002.Designing an Irrigation System for Rice Fields. Department of Irrigation Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University, Thailand, 250. (In Thai)

Royal Irrigation Department. Selection of Pipes for Construction and Water Conveyance [Online]. Available: http://kmcenter.rid.go.th/. [13 June 2016] (In Thai)

Sukprung, P., Yanpirat, P. and Supapa, S. 2023. Combined fuzzy analytic hierarchy process and voting analytic hierarchy process in designing supplier selection criteria: A case study of high-voltage equipment manufacturing firms. Operation Research Network 2023 Conference 2023 (OR-NET Conference 2023), 15-17 March 2023, Bangkok, Thailand, 166-172. (In Thai)

Chang, D.Y. 1996. Applications of the extent analysis method on fuzzy AHP. European Journal of Operational Research, 95, 649-655.

Boender, C.G.E., De Graan, J.G. and Lootsma, F. 1989. Multi-criteria decision analysis with fuzzy pairwise comparisons. Fuzzy Sets and Systems, 29, 133-143.

Chan, F.T.S. and Qi, H.J. 2003. An innovative performance measurement method for supply chain management. Supply Chain Management, 8, 209-223.

Zhu, K.J., Jing, Y. and Chang, D.Y. 1999. A discussion on extent analysis method and applications of fuzzy AHP. European Journal of Operational Research, 116, 450-456.

Chang, P.T. and Lee, E.S. 1995. The estimation of normalized fuzzy weights. Computers & Mathematics with Applications, 29, 21-42.

Royal Irrigation Department. 2012. Environmental Impact Assessment Khlong Phrao Reservoir Project. Royal Irrigation Department Ministry of Agriculture and Cooperatives. 194. (In Thai)

Royal Irrigation Department. 2014. Environmental Impact Assessment Sae-Or Reservoir Project. Royal Irrigation Department Ministry of Agriculture and Cooperatives. 188. (In Thai)

Royal Irrigation Department. 2016. Environmental Impact Assessment Ban Wang Chan Drainage Gate Project. Royal Irrigation Department Ministry of Agriculture and Cooperatives. 198. (In Thai)

Royal Irrigation Department. 2020. Environmental Impact Assessment Khlong Ta Phlai Project. Royal Irrigation Department Ministry of Agriculture and Cooperatives. 207. (In Thai)

Royal Irrigation Department. 2021. Environmental Impact Assessment Huy Sa Tor Project. Royal Irrigation Department Ministry of Agriculture and Cooperatives. 204. (In Thai)

Thaninchaiwat, P. and Wethyavivorn P. 2019. Prioritization of irrigation project development a case of study the Khokkrathiam operation and maintenance project. The 24th National Convention on Civil Engineering, 10-12 July 2019, Udonthani, Thailand, 1254-1260. (In Thai)

Duangkert, P., Vudhivanich, V. and Thepprasit, C. 2022. Prioritization of floodgate: Pathumthani provincial irrigation office case study. Thai Society of Agricultural Engineering Journal, 28, 32-43. (In Thai)

Yodying, P. 2015. Development of selection for irrigation distribution system between pressure piping system and canal system. Master of Engineering Thesis, Infrastructure Engineering and Management, Faculty of Engineering, Kasetsart University, 221. (In Thai)

Wichiensin, M. and Cheeta, K. 2021. Ranking of reservoirs to increase the water storage capacity. KMUTT Research and Development Journal, 44, 33-43. (In Thai)

Saaty, T.L. 1994. How to make a decision: The analytic hierarchy process. INFORMS Journal on Applied Analytics, 24, 19-43.

Buckley, J.J. 1985. Fuzzy hierarchical analysis. Fuzzy Sets and Systems, 17, 233-247.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

แก้วใย ศ. ., & วิเชียรสินธุ์ เ. . (2025). การเลือกประเภทของระบบส่งน้ำชลประทานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. Science and Engineering Connect, 48(2), 144–164. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/7853