นโยบายควบคุมสินค้าคงคลังสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคที่เหมาะสมของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่โดยใช้เทคนิค MUSIC–3D

ผู้แต่ง

  • อิสริยพร หลวงหาญ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ ประเทศไทย
  • กาญจนา ดาวเด่น คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ ประเทศไทย
  • กณพ วัฒนา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ ประเทศไทย
  • ปริญญา ดีรัศมี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ ประเทศไทย
  • วาทิต วงษ์ดอกไม้ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การจำแนกประเภทสินค้าแบบหลายหน่วย, นโยบายการควบคุมสินค้าคงคลัง, ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่, เทคนิค MUSIC–3D, การจำแนกสินค้าด้วยเทคนิค ABC–SDE-XYZ

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ : การดำเนินธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่มีการแข่งขันสูง ดังนั้น หากธุรกิจไม่มีความพร้อมในการจัดการสินค้าคงคลัง อาจส่งผลให้สินค้ามีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าหรือมีปริมาณสินค้าคงคลังมากเกินไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกประเภทสินค้าคงคลัง และเสนอนโยบายการควบคุมสินค้าคงคลังด้วยเทคนิค MUSIC–3D (Multi-unit selective inventory control – A three dimensional)

วิธีดำเนินการวิจัย : เก็บข้อมูลบริษัทกรณีศึกษาเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นเวลา 12 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2565) จำนวน 154 รายการ ประกอบด้วย รหัสสินค้า รายละเอียดสินค้า จำนวนสินค้าที่สั่งซื้อ ราคาสินค้าต่อหน่วย และเวลานำส่งสินค้า

ผลการวิจัย : กลุ่มสินค้า ASZ มีสินค้าจำนวน 6 รายการ เป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าสูง มีความยากหรือใช้เวลารอคอยสินค้ามากกว่า 15 วัน และเป็นสินค้าที่มีความต้องการไม่แน่นอนมากที่สุด นโยบายที่เสนอ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการพยากรณ์ ซึ่งจะทำให้การสำรองสินค้าหรือการสั่งซื้อสินค้าสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ส่วนกลุ่มสินค้า BSZ, BDZ, BEZ มีสินค้าจำนวน 14, 8, 2 รายการ ตามลำดับ เป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าปานกลาง แต่มีระยะเวลาในการรอคอยสินค้าแตกต่างกัน ทั้งใช้มากกว่า 15 วัน และไม่เกิน 7 วัน ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางนโยบาย ได้แก่ ควรมีการวางแผนการสั่งซื้อสินค้าเป็นระยะ ๆ ร่วมกับการใช้เทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมกับแต่ละรายการสินค้า ควรวิเคราะห์ปริมาณความต้องการอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งควรศึกษาเงื่อนไขการสั่งซื้อสินค้ากับผู้จัดจำหน่ายอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ ควรอาศัยเทคนิคการสั่งซื้อสินค้าแบบ Min–Max เพื่อป้องกันการเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส สุดท้ายกลุ่มสินค้า CSY, CSZ, CDY, CDZ, CEX, CEY, CEZ มีสินค้าจำนวน 1, 3, 3, 23, 51, 9, 34 รายการ ตามลำดับ เป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าต่ำ มีเวลาในการรอคอยสินค้าเร็วและช้าแตกต่างกัน รวมถึงความต้องการสินค้าของลูกค้ามีความแปรปรวนไม่สม่ำเสมอ ควรมีการสั่งซื้อสินค้าแบบ Fixed order size และปริมาณสินค้าควรอยู่ในระดับต่ำ ควรมีการวางแผนการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า รวมถึงทำการเบิก-จ่ายสินค้าแบบ Visual check และระบบ Two Bin ทั้งนี้ ควรดำเนินการให้เหมาะสมกับสินค้าเฉพาะรายการ

สรุป : เทคนิค MUSIC–3D สามารถจำแนกประเภทสินค้าและกำหนดนโยบายการควบคุมสินค้าอุปโภคบริโภคที่เหมาะสมกับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ได้ 11 กลุ่ม 11 แนวทาง เทคนิคดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุน การถือครองสินค้า ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการจำหน่าย และช่วยประเมินการจัดการสต๊อกสินค้าให้มีประสิทธิภาพตลอดโซ่อุปทาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมาตรฐานการจัดการสินค้าคงคลังและวางแผนการสั่งซื้อสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการ ทั้งแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่อง

การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ : เทคนิค MUSIC–3D เป็นเทคนิคที่สามารถวิเคราะห์การจำแนกสินค้าแบบ 3 มิติ ได้ด้วยเทคนิคเดียว ทำให้ผู้ที่สนใจสามารถวิเคราะห์สินค้าคงคลังและบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เทคนิคนี้ยังสามารถนำเทคนิคการจำแนกสินค้าต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เทคนิค ABC-VEN-FSN หรือเทคนิค ABC-FSN-XYZ เป็นต้น เทคนิคดังกล่าวอาจช่วยลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง อาทิเช่น ต้นทุนการถือครองสินค้า ต้นทุนการสั่งซื้อสินค้า และต้นทุน ค่าโอกาสจากการจำหน่ายสินค้า รวมถึงยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจ โลจิสติกส์และอุตสาหกรรมการผลิต เนื่องจากสามารถนำไปวิเคราะห์สินค้าได้หลากหลายประเภทภายใต้ความต้องการที่แน่นอนและไม่แน่นอนได้

References

Phansangwan, P., Suthikarnnarunai, N. and Janpong, S., 2021, “Inventory Management Efficiency Improvement: A Case Study of Retail Company,” Journal of Nakhonratchasima College (Humanities and Social Sciences), 15 (3), pp. 391-405. (In Thai)

Muskan, A. and Yash, K., 2021, “Selective Inventory Control,” International Journal of Advance Research and Innovative Ideas in Education, 7 (1), pp. 337-344.

Pandya, S.N. and Darshak, A.D., 2019, “Inventory Categorization Techniques for Effective Inventory Management,” Journal of Emerging Technologies and Innovative Research, 6 (1), pp. 689-700.

Kumar, A. and Shukla, A.C., 2022, “Selective Inventory Control Using ABC and FSN Analysis in Retail Sector: A Case Study,” International Journal for Research in Applied Science & Engineering Technology, 10 (V), pp. 4810-4818.

Majumdar, D., 2022, “Application of Selective Control Techniques in Maintenance Shop,” International Journal of Research in Engineering and Science, 10 (2), pp. 22-26.

Devarajan, D. and Jayamohan, M.S., 2016, “Stock control in a chemical firm: combined FSN and XYZ analysis,” Procedia Technology, 24 (2016), pp. 562 – 567.

Sharda, S. and Gorana, V.K., 2016, “Framework for Spare Parts Inventory Cost Optimization and Adequacy in Stock Control Management using Technique of Multi Unit Selective Inventory Control: Perspective to Downstream Plants of Petroleum Industry,” International Journal of Science Technology and Management, 5 (4), pp. 143-153.

Girija, V.R. and Bhat, M.S., 2013, “Multi Unit Selective Inventory Control- A Three Dimensional Approach (MUSIC-3D),” CVR Journal of Science and Technology, 5, pp. 98-104.

Ni’mah, Z. and Farida, Y., 2019, “Multi-Unit Spares Inventory Control–Three dimensional (MUSIC 3D) Approach to Inventory Control,” Jurnal Matematika MANTIK, 5 (1), pp.19-27.

Praveen, M. P. Simha, Jay. B. and Venkataram, R., 2016, “Techniques for Inventory Classification: A Review,” International Journal for Research in Applied Science & Engineering Technology, 4 (X), pp. 508-518.

Sanjeevy, C. and Ciby, T., 2014, “Use and Application of Selective Inventory Control Techniques of Spares for a Chemical Processing Plant,” International Journal of Engineering Research & Technology, 3 (10), pp. 301-306.

Ngamsuk, P., 2019, “Analysis the Causes of Shortage and Ways to Reduce the Shortage of Equipment Marketing Department XXX Co.,Ltd.,” The 14th UTCC National Graduate Research Conference 2019, University of the Thai Chamber of Commerce, pp. 1243-1252. (In Thai)

Mor, S.R., Bhardwaj, A., Kharka, V. and Kharub, M., 2021, “Spare Parts Inventory Management in The Warehouse: A Lean Approach,” International Journal of Industrial Engineering & Production Research, 32 (2), pp. 1-11, DOI: 10.22068/ijiepr.32.2.1

Phalika, K. and Suwannasap, N., 2016, “Inventory Management by Applying the Theory of ABC Classification Analysis, EOQ Model Techniques and Silver-Method: A Case Study of XYZ,” Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences), 11 (1), pp. 102-114. (In Thai)

Jadhav, P. and Jaybhaye, M., 2020, “A Manufacturing Industry Case Study: ABC and HML Analysis for Inventory Management,” International Journal of Research in Engineering, Science and Management, 3 (9), pp. 146-149.

Hukum, R. and Shrouty, V. A., 2019, “The Study of various Tools and Techniques of Inventory Management and Experiment with use of ABC Analysis,” International Research Journal of Engineering and Technology, 6 (4), pp. 350-356.

Jobiry, T., Abuye, H., Jemal, A. and Gudeta, T., 2023, “Evaluation of Pharmaceuticals Inventory Management in Selected Health Facilities of West Arsi Zone, Oromia, Ethiopia,” Integrated Pharmacy Research and Practice, 10, pp. 1–11.

Ratchinda, N. and Wonginta, T., 2022, “Increasing Efficiency of Inventory Management: A Case Study of Air Conditioner Manufacturers,” Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 8 (3), pp. 34-49. (In Thai)

Sideh, N., Srisawat, K., Kadmanee, P., Wangbenmad, C. and Kodcharat, Y., 2023, “The Study on Inventory Management: Case study of ABC Shop,” The 14th Hatyai National and International Conference, Hatyai University, pp. 2073 – 2084. (in Thai)

Imarah, T.S. and Jaelani, R., 2020, “ABC analysis, Forecasting and Economic Order Quantity (EOQ) Implementation to Improve Smooth Operation Process,” Dinasti International Journal of Education Management and Social Science, 1 (3), pp. 319-325.

Romadhon, N.I., Sukarno, I. and Lusiani, M., 2022, “Analysis Inventory of Consumable Goods using Min-Max Method at Universitas Pertamina,” Journal of Emerging Supply Chain, Clean Energy, and Process Engineering, 1 (1), pp. 55-62.

Trubchenko, T.G., Kiseleva, E.S., Loshchilova, M.A., Dreval, A.N., Ryzhakina, T.G. and Shaftelskaya, N. V., 2020, “Application of ABC and XYZ Analysis to Inventory Optimization at a Commercial Enterprise,” XVII International Conference of Students and Young Scientists "Prospects of Fundamental Sciences Development, SHS Web of Conferences, 80 (01007).

Apsalons, R. and Gromov, G., 2017, “Using the Min/Max Method for Replenishment of Picking Locations,” Transport and Telecommunication, 18 (1), pp. 79–87.

Mehrotra, S., Basukala, S., Kapoor, P., Kant, S., Ranyal, R.K., Yadav, P., Varshney, S., Patnaik, S.K. and Singh, M.M., 2015, “Application of 3D Music inventory control technique for the controlled drugs in intensive care unit of a Tertiary Care Hospital,” International Journal of Research Foundation of Hospital & Healthcare Administration, 3 (1), pp. 5-9.

Singh, A., Rasania, S.K. and Barua, K., 2022, “Inventory control: Its principles and application,” Indian Journal of Community Health, 34 (1), pp. 14-19.

Jain, P. and Mishra, T., 2021, “Implementation of Inventory Management Technique in Manufacturing Industry,” International Journal of Science, Engineering and Technology, 9 (4), pp. 1-4.

Cover Image

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

หลวงหาญ อ., ดาวเด่น ก., วัฒนา ก., ดีรัศมี ป., & วงษ์ดอกไม้ ว. (2024). นโยบายควบคุมสินค้าคงคลังสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคที่เหมาะสมของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่โดยใช้เทคนิค MUSIC–3D. Science and Engineering Connect, 47(2), 196–213. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/7739