ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรจักจั่นทะเลและคุณภาพน้ำทะเลในพื้นที่หาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
สหสัมพันธ์, หาดไม้ขาว, จักจั่นทะเล, คุณภาพน้ำทะเลบทคัดย่อ
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: จักจั่นทะเลเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ค่อนข้างมากในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งอาหาร สภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ และหาดทรายที่เหมาะแก่การดำรงอยู่ของจักจั่นทะเล ดังนั้น จึงมีการนำจักจั่นทะเลมาเป็นวัตถุดิบหรือส่วนหนึ่งของอาหารพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ได้มากมาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรของจักจั่นทะเลและคุณภาพน้ำทะเลในพื้นที่หาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรของจักจั่นทะเลและคุณภาพน้ำทะเลในพื้นที่ดังกล่าวอาศัยข้อมูลตัวชี้วัดที่มาจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเล และข้อมูลจำนวนประชากรจักจั่นทะเลที่เก็บในพื้นที่หาด 4 พื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต เก็บข้อมูลในช่วงก่อนฤดูร้อน พ.ศ. 2563 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสถิติการวิเคราะห์พหุตัวแปร (Multivariate analysis) หาปัจจัยร่วมของข้อมูลจำนวนประชากรจักจั่นทะเลและข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทะเล
ผลการวิจัย: พบความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างชัดเจนของ 16 คู่ตัวแปร จากจำนวนการจับคู่ตัวแปร 45 คู่ตัวแปร กลุ่มของตัวแปรที่สัมพันธ์กันสามารถจำแนกออกเป็นข้อมูลปัจจัยของตัวแปรได้ 2 ปัจจัย ดังที่ตั้งสมมติฐานไว้ ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 เป็นปัจจัยของตัวแปรสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย มีตัวแปรที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทะเลในปัจจัยดังกล่าวที่แสดงถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงจำนวนประชากรจักจั่นทะเลกับคุณภาพน้ำทะเล คือ อุณหภูมิของน้ำทะเล ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) บีโอดี (BOD) และ ซีโอดี (COD) ด้วยค่า R ในช่วง 0.78-0.91 โดยมีเพียงอุณหภูมิเท่านั้นที่แสดงผลความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับความหนาแน่นประชากรจักจั่นทะเล ส่วนสามตัวชี้วัดที่เหลือแสดงความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับความหนาแน่นประชากรจักจั่นทะเล ปัจจัยที่ 2 เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่มีการเชื่อมโยงกับคุณภาพน้ำทะเลในเชิงความสัมพันธ์กับระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มีตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทะเลที่เป็นตัวแปรย่อย คือ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าความเค็มของน้ำทะเล ค่าฟอสเฟต–ฟอสฟอรัส และปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ด้วยค่า R ในช่วง 0.00-0.65 ปัจจัยในกลุ่มที่สองนี้ไม่ได้แสดงความสัมพันธ์กับจำนวนประชากรจักจั่นทะเลอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีตัวชี้วัดที่ไม่แสดงความสัมพันธ์ร่วมกับปัจจัยทั้งสอง ได้แก่ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดและปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด
สรุป: ปัจจัยร่วมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลประชากรจักจั่นทะเลและตัวชี้วัดคุณภาพน้ำมี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ซึ่งเป็นปัจจัยของตัวแปรสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยที่แสดงความสัมพันธ์เชิงสถิติกับความหนาแน่นประชากรจักจั่นทะเลโดยตรง มีตัวชี้วัดของคุณภาพน้ำทะเลที่เชื่อมโยงกัน คือ อุณหภูมิของน้ำทะเล ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) บีโอดี (BOD) และ ซีโอดี (COD) ส่วนปัจจัยที่ 2 เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เชื่อมโยงกับคุณภาพน้ำทะเล โดยตัวชี้วัดทั้งหมดในปัจจัยนี้ไม่ได้แสดงผลความความสัมพันธ์กับความหนาแน่นประชากรของจักจั่นทะเลอย่างชัดเจน แต่แสดงผลในเชิงความสัมพันธ์กับระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มีตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทะเล ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าความเค็มของน้ำทะเล ค่าฟอสเฟต–ฟอสฟอรัส และปริมาณคลอโรฟิลล์เอ
การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ: ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรจักจั่นทะเลและคุณภาพน้ำเป็นตัวบ่งชี้ถึงโอกาสการอยู่รอดของจักจั่นทะเลในน้ำทะเล มีประโยชน์เพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำทะเล หากต้องการเพาะพันธุ์จักจั่นทะเลในพื้นที่สำหรับใช้ในเชิงพานิชย์
References
Platong, S. and Platong, J., 2003, “A Review of Mole Crabs (Hippidae) in the Gulf of Thailand: with a New Record of Hippa Truncatifrons (Miers,1878) and unidentified Emerita sp,” 20th Pacific Science Congress “Science & Technology for Healthy Environment”, 17-21 March 2023, Bangkok, Thailand, 344 p.
Efford, I.E., 1966, “Feeding in the Sand Crabs, Emerita Analoda (Stimpson) (Decapoda, Anomura),” Crustaceana, 10 (2), pp. 167-182.
Koedprang, W., Phetchaiya, T. and Khakhong, S., 2016, “Effect of Water Salinity on Survival Rate and Growth Performances of Mole Crab (Emerita emeritus Linn. 1767),” RMUTSV Research Journal, 9 (1), pp. 14-23. (In Thai)
Boonruang, P. and Phasuk, B., 1975, “Species Composition and Abundance Distribution of Anomuran Sand Crabs, and Population Bionomics of Emerita emeritus (L.) along the Indian Ocean Coast of Thailand,” Research Bulletin, 8, pp. 1-19.
Khongsang, A., 2020, “Relationship between Phytoplankton Community and the Distribution of Mole Crab (Emerita emeritus L., 1767) at Mai Khao Beach, Phuket Province,” Proceedings of The National Environmental Conference 2020, Burapha University, Chon Buri. pp. 1-10. (In Thai)
Suteerasak, T., Tanchana, S., Limsakul, W., Nuisriram, N., Inthong, S. and Parkiatwong, J., 2020, “Assessment of “Water and Sand Quality in Mai Khao Beach, Phuket Province,” Proceedings of The National Environmental Conference 2020, Burapha University, Chon Buri. pp. 1-10. (In Thai)
Limsakul, W., Suteerasak, T., Koedsin, W., Tanchana, S. and Chongsrirattanakun, W., 2021, “The Quantity of Metal Elements in Sand of Mai Khao Beach Phuket Province,” Burapha Science Journal, 26 (3), pp. 1456-1475. (In Thai)
Vecchia, A.D., Rigotto, C., Staggemeier, R., Soliman, M.C., de Souza, F.G., Henzel, A., Santos, E.L., do Nascimento, C.A. de Quevedo, D.M., Fleck, J.D., Heinzelmann, L.S., de Matos Almeida, S.E. and Spilki, F.R., 2015, “Surface Water Quality in the Sinos River Basin, in Southern Brazil: Tracking Microbiological Contamination and Correlation with Physicochemical Parameters,” Environmental Science and Pollution Research, 22, pp. 9899–9911.
Aguirre, B.P., Masachessi, G., Ferreyra, L.J., Biganzoli, P., Grumelli, Y., Panero, M.D., Wassaf, M.M., Pisano, M.B., Welter, A., Mangeaud, A., Ré, V., Nates, S.V. and Pavan, J.V., 2019, “Searching Variables to Assess Recreational Water Quality: the Presence of Infectious Human Enterovirus and its Correlation with the Main Variables of Water Pollution by Multivariate Statistical Approach in Córdoba, Argentina,” Environmental Science and Pollution Research, 26, pp. 6586–6601.
Suteerasak, T., Limsakul, W. and Koedsin, W., 2023, “Estimation of Beach Profile Changes after Monsoon in the Mai Khao Beach,” KKU Science Journal, 51 (1), pp. 31-43. (In Thai)
Sinsomboomthong, S., 2014, Multivariate Analysis, Chula Book Center, Bangkok. (In Thai)
Pinyo, T., 2018, “Techniques for Interpreting the Results of Factor Analysis in Research Work,” Panyapiwat Journal, 10 (Special), pp. 292-304. (In Thai)
Suteerasak, T., Lim-u-sanno, P. and Bhongsuwan, T., 2021, “Magnetic Properties and Correlations with Iron, Aluminum and Titanium in Rock and Soil of Phuket Province,” KMUTT Research and Development Journal, 4 (22), pp. 279-294. (In Thai)
Zhiyuan, W., Dengfeng, W., Huiping, Z. and Zhiping, Q., 2011, “Assessment of Soil Heavy Metal Pollution with Principal Component Analysis and Geoaccumulation Index,” Procedia Environmental Sciences. 10, pp. 1946-1952.
Gergen, I. and Harmanescu, M., 2012, “Application of Principal Component Analysis in the Pollution Assessment with Heavy Metals of Vegetable Food Chain in the Old Mining Areas,” Chemistry Central Journal, 6 (156), pp. 1-13.
Yalcin, F., Kilic, S., Nyamsari, D.G., Yalcin, M.G. and Kilic, M., 2016, “Principal Component Analysis of Integrated Metal Concentrations of Bogacayi Riverbank Sediments in Turkey,” Polish Journal of Environmental Studies, 25 (2), pp. 471-485.
Gomalanon, P., 2017, Species and Distribution of Sand Crabs (Crustacea : Hippoidea) in Chalathat Beach, Songkhla Province, Master of Science Thesis, Marine and Coastal Resources Management, Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University, 101 p. (In Thai)
Paibulkichakul, C., Tomuenwai, C., Tangian, T. and Paibulkichakul, B. 2020, “Coastal Water Quality Assessment Using Dominant Genera of Phytoplankton,” King Mongkut's Agricultural Journal, 38 (1), pp. 104-111. (In Thai)
Thirunavukkarasu, S., Vasanthi, R., Karunasagaran, G. and Munuswamy, N. 2020, “Coastal Water Quality Impact on Community Structure and Genotoxicity of Marine Zooplankton,” Regional Studies in Marine Science, 39, 101392, pp. 1-13.
Alkhalidi, M.A., Hasan, S. and Almarshed, B.F. 2023, “Assessing Coastal Outfall Impact on Shallow Enclosed Bays Water Quality: Field and Statistical Analysis,” Journal of Engineering Research, (In Press), pp. 1-15. (https://doi.org/10.1016/j.jer.2023.09.031)
Jamshidi, S. and Bakar, N.B.A., 2011, “Variability of Dissolved Oxygen and Active Reaction in Deep Water of the Southern Caspian Sea, Near the Iranian Coast,” Polish Journal of Environmental Studies, 20 (5), pp. 1167-1180.
Weymouth, F.W. and Richardson, C.H., 1912, “Observations on the Habits of the Crustacean Emerita analoga,” Smithsonian Miscellaneous Collections 59 (7), pp. 1-13.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science and Engineering Connect ในทุกรูปแบบ รวมถึงข้อความ สมการ สูตร ตาราง ภาพ ตลอดจนภาพประกอบในรูปแบบอื่นใด เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การนำเนื้อหา ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ของบทความไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเท่านั้น