การพัฒนาระบบการบริหารจัดการผู้จัดจำหน่ายและกระจายสินค้าด้วยรูปแบบแพลตฟอร์มของอีโว้ค

ผู้แต่ง

  • พิชิต งามจรัสศรีวิชัย คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เพ็ญพิมล วิไลรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ระบบการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย, ตัวแทนผู้จัดจำหน่าย, ระบบจัดการตัวแทนผู้จัดจำหน่าย, แพลตฟอร์มอีโว้ค

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Management System: DMS) สำหรับอุตสาหกรรมความงามและเครื่องสำอางเพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ลดความเสี่ยงจากการลงทุนและการแข่งขันทางธุรกิจ มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า เจ้าของแบรนด์ และตัวแทนผู้จัดจำหน่าย โดยนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์ผ่านระบบการค้าแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ของอีโว้ค (EVOGUE Platform) ซึ่งเป็นต้นแบบแพลตฟอร์มจัดเก็บ บริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับตัวแทนผู้จัดจำหน่ายสินค้าและลูกค้าที่สั่งซื้อผ่านระบบ โดยใช้รูปแบบตัวแทนผู้จัดจำหน่าย (Affiliate System) และประเมินความสามารถของระบบผ่านการวิเคราะห์ระดับการยอมรับเทคโนโลยีและเทคนิคในมุมมองของผู้ใช้ตามหลักการ Usability Design และ User Experience

วิธีดำเนินการวิจัย : งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมเพื่อออกแบบโครงสร้างและระบบการทำงานของแพลตฟอร์ม อันประกอบด้วยระบบการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ ระบบสนับสนุนการทำงาน และระบบจัดการตัวแทนผู้จัดจำหน่าย พร้อมทั้งประเมินความสามารถของระบบในแง่ของความสามารถในการเข้าถึงและใช้งานระบบจาก TRL ระดับ 5 พัฒนาแพลตฟอร์มเป็น TRL ระดับ 7 และวัดระดับการยอมรับเทคโนโลยี เพื่อประเมินการรับรู้การใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม กลุ่มตัวอย่าง 129 ตัวอย่าง เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทดลองใช้ตัวแทนผู้จัดจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม โครงสร้างคำถามประกอบด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์ การรับรู้ประโยชน์ของการใช้งาน (Perceived of usefulness) การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (Perceived of ease of use) ความพึงพอใจในการใช้ (User satisfaction) และทัศนคติต่อความต้องการใช้ (Attitude toward using) และใช้ Focus Group เพื่อประเมินมุมมองการใช้งานในแง่ของการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งาน สัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ตรงในการทำงานด้านการจัดจำหน่ายเครื่องสำอาง เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญในมุมมองของ Usability Design จำนวน 5 คน

ผลการวิจัย : ผลการออกแบบแพลตฟอร์มแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่ 1 ระบบการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ เป็นระบบกลางในการขายและชำระสินค้า ส่วนที่ 2 ระบบสนับสนุนการทำงาน และส่วนที่ 3 ระบบการจัดการตัวแทนผู้จัดจำหน่าย รายงานยอดขาย คำนวณยอดขาย บริหารจัดการทีม ระบบการจัดการข้อมูลตัวแทนจัดจำหน่าย  โดยมีการทดลองแพลตฟอร์มจากผลการพัฒนาและทดลองใช้งาน ตลอดจนผลการประเมินความสามารถของระบบด้วยการทวนสอบผลการทำงานของระบบ (Verify System) ทดสอบ Test Case และประเมินผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Expected Results) ส่วนการใช้งานหลักของแพลตฟอร์ม และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินและปรับปรุงการใช้งานแพลตฟอร์ม ค่าระดับการยอมรับเทคโนโลยีของแพลตฟอร์มมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.816

สรุป : ผลลัพธ์หลักของการวิจัยเป็นการออกแบบโครงสร้างและรูปแบบการทำงานของแพลตฟอร์มระบบการบริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีระบบการจัดการตัวแทนผู้จัดจำหน่าย ผ่านการทดสอบและประเมินความพร้อมเทคโนโลยีในระดับ TRL 7 มีการทำงานผ่านสถาปัตยกรรมของระบบร่วมกับการไหลของข้อมูล (Operations and Data Flow) โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อ Brand Owner และ Affiliator เข้าด้วยกัน

การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ : ผลลัพธ์ของการวิจัยครั้งนี้นำไปสู่การปรับปรุงต้นแบบแพลตฟอร์มและการออกแบบในด้านที่เกี่ยวข้องกับ User Interface Design (UI) และการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้งานที่ดีของแพลตฟอร์ม เป็นแนวทางและสร้างมาตรฐานในการสร้างระบบจัดการตัวแทนผู้จัดจำหน่ายสำหรับอุตสาหกรรมความงามและเครื่องสำอาง

References

Charutawephonnukoon, P., Pornpeerawich, P., Pansuma, P. and Varasaeneewut, P., 2020, “Factors Affecting Consumer Satisfaction in Using Food Panda Application in Bangkok Metropolitan Region,” Humanities and Social Science Research Promotion Network Journal, 3 (2), pp. 29-42. (In Thai)

Supasakron, P. and Jitsuparp, T., 2019, “Technology Acceptance and Customer e-Loyalty of Online Food Delivery Application of Female Consumers in Bangkok Metropolis,” Journal of Business Administration and Social Sciences Ramkhamhaeng University, 2 (3), pp. 141-155. (In Thai)

Boonrue, W. and Charutawephonnukoon, P., 2019, “Technology Accepting and Marketing Mix Factors Influencing Satisfaction in Using Organic Trading Applications of Customers in Thailand,” Journal of Management and Marketing, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 6 (2). (In Thai)

Chomchark, P., 2022, “Influence of Technology Acceptance and Use, Satisfaction and Engagement on Intention to Continue Use through Online Application for Shopping,” Journal of Public Relations and Advertising, 15 (1), pp. 111-129. (In Thai)

Rahardja, I.A., Galinium, M. and Anthony, R., 2020, “Backend Development of Online Marketplace for Male Beauty Care Services,” Proceedings of the International Conference on Engineering and Information Technology for Sustainable Industry, pp. 1-5.

Chomchark, P. and Ngamjarussrivichai, P., 2022, “A Confirmatory Factor Analysis of Customer Engagement Models in Online Shopping Platform,” Journal of Business Administration and Languages (JBAL), 10 (2), pp. 1-13. (In Thai)

Ngamjarussrivichai, P., Panitsettakorn, W., Wilairatana, P., Ongkunaruk, P. and Tsutomu, K., 2020, “Designing a Social Commerce Diagnosis Techniques Based on Earned Value Management: Case Study of Thai Cosmetics Manufacturing Company,” 9th International Congress on Advanced Applied Informatics (IIAI-AAI), 1-15 September 2020, Kitakyushu, Japan pp. 677-682. https://doi.org/10.1109/IIAI-AAI50415.2020.00137

Youssef, Y.M.A., Johnston, W.J., Hamid, T.A.A., Dakrory, M.I. and Seddick, M.G.S., 2018, “A Customer Engagement Framework for a B2B Context,” Journal of Business and Industrial Marketing, 33 (1), pp. 145-152.

Ji, Y.G., Park, J.H., Lee, C. and Yun, M.H., 2006, “A Usability Checklist for the Usability Evaluation of Mobile Phone User Interface,” International Journal of Human-Computer Interaction, 20 (3), pp. 207-231.

Green, D. and Pearson, J.M., 2006, “Development of a Website Usability Instrument based on ISO 9241-11,” Journal of Computer Information Systems, 47 (1), pp. 66-72.

Kuciapski, M., 2017, “A Model of Mobile Technologies Acceptance for Knowledge Transfer by Employees,” Journal of Knowledge Management, 22 (5), pp. 1053-1076.

Xin, T. and Yongbeom, K., 2014, “User Acceptance of SaaS-based Collaboration Tools: A Case of Google Docs,” Journal of Enterprise Information Management, 28 (3), pp. 423-442.

Nielsen, J., 1999, Designing Web Usability: The Practice of Simplicity, New Riders Publishing, California, 419 p.

Mankins, J.C., 2009, “Technology Readiness Assessments: A Retrospective,” Acta Astronautica, 65 (9), pp. 1216-1223.

Kaemkate, W., 2008, Research Methodology in Behavioral Sciences, 2nd ed., Chulalongkorn University Printing House, Bangkok, 565 p. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

How to Cite

งามจรัสศรีวิชัย พ., & วิไลรัตน์ เ. (2024). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการผู้จัดจำหน่ายและกระจายสินค้าด้วยรูปแบบแพลตฟอร์มของอีโว้ค. Science and Engineering Connect, 47(1), 41–60. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/7721