การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสบู่สารสกัดกากกาแฟและ สบู่สารสกัดกากกาแฟผสมสารสกัดใบหม่อน

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ พันสี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี ประเทศไทย
  • ศิรประภา รักษาภักดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี ประเทศไทย
  • กัลย์สุดา ดวงศรีแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สบู่, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, สารสกัด, กากกาแฟ, ใบหม่อน

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่กลีเซอรีนที่มีการเติมสารสกัดกากกาแฟพันธุ์อะราบิกา (Coffea arabica L.) สารสกัดใบหม่อน (Morus alba L., c.v. Chiang Mai 60) และผงกากกาแฟ เนื่องจากกากกาแฟประกอบด้วยสารประกอบฟีนอลและคาเฟอีนซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ลดอาการบวมอักเสบของผิวหนัง ในขณะที่หม่อนเป็นพืชหนิดหนึ่งที่ปลูกมากในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี และในใบหม่อนมีสารประกอบพอลิฟีนอลจึงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

วิธีดำเนินการวิจัย : เตรียมสารสกัดกากกาแฟโดยนำกากกาแฟจากร้านจำหน่ายกาแฟในจังหวัดลพบุรีมาอบด้วยเตาอบลมร้อนอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 ชั่วโมง จากนั้นชั่งผงกากกาแฟ 100 กรัม สกัดด้วยน้ำปราศจากไออออนปริมาตร 500 มิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง กรองด้วยผ้าขาวบางและกระดาษกรอง (Whatman no. 1) นำใบหม่อนจากไร่หม่อนในพื้นที่จังหวัดลพบุรีมาล้างทำความสะอาด ผึ่งลมจนแห้ง หั่นตามแนวขวางให้มีความหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร เตรียมสารสกัดใบหม่อนโดยชั่งใบหม่อน 40 กรัม สกัดด้วยน้ำปราศจากไอออน 500 มิลลิลิตร อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบางและกระดาษกรอง เตรียมสบู่ทั้งหมด 8 สูตร ได้แก่ สบู่ชุดควบคุม (สูตร S1) สบู่เติมสารสกัดกากกาแฟ 3 สูตร (สูตร S2-S4) สบู่เติมสารสกัดกากกาแฟและสารสกัดใบหม่อน 1 สูตร (สูตร S5) สบู่เติมสารสกัดกากกาแฟและผงกากกาแฟ 2 สูตร (สูตร S6-S7) และสบู่เติมสารสกัดกากกาแฟ  สารสกัดใบหม่อน และกากกาแฟ 1 สูตร (S8) ทั้งนี้ เตรียมสบู่โดยชั่งกลีเซอรีน 25 กรัม ละลายด้วยไฟอ่อน จากนั้นเติมสารส่วนผสมที่เตรียมไว้ คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน และเทสบู่ลงในแม่พิมพ์สบู่แบบซิลิโคนรูปวงรี ศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี ได้แก่ สิ่งแปลกปลอม ค่าสี ร้อยละการสึกกร่อน ปริมาตรฟองและความคงทนของฟอง และค่า pH วิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสบู่โดยใช้วิธีดีพีพีเอช (DPPH)

ผลการวิจัย : จากการทดลองเปรียบเทียบสบู่ที่มีส่วนประกอบต่างกัน 8 สูตร พบว่า สบู่ทุกสูตรไม่มีสิ่งแปลกปลอม สบู่ที่เติมสารสกัดกากกาแฟ สารสกัดใบหม่อน และกากกาแฟ มีค่า L* a* และ b* เท่ากับ 13.81 ± 1.20 ถึง 26.40 ± 0.97, 0.44 ± 0.13 ถึง 1.36 ± 0.22 และ 0.20 ± 0.24  ถึง 4.76 ± 0.31 ตามลำดับ สบู่มีค่า pH 9.81 - 10.06  ค่าร้อยละการสึกกร่อน 14.83 ± 1.37 ถึง 16.55 ± 1.45  ปริมาตรฟอง 69.50 ± 1.50 ถึง 73.00 ± 3.12 มิลลิลิตร และความคงทนของฟอง 66.00 ± 2.00 ถึง 70.25 ± 2.65 มิลลิลิตร ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสบู่ด้วยวิธีดีพีพีเอช เปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกรดแอสคอร์บิก เท่ากับ 1.66 ± 0.11 ถึง 7.65 ± 0.02 AAE/สบู่ 1 กรัม ผลการประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์สบู่ของกลุ่มตัวอย่าง 25 คน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

สรุป : สบู่ทุกสูตรที่พัฒนาขึ้นมีสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเป็นไปตามมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สบู่ก้อน และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสบู่ชุดควบคุม สารสกัดกากกาแฟ กากกาแฟ หรือสารสกัดใบหม่อนจึงเป็นส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสบู่ และยังทำให้ได้เฉดสีของสบู่ที่หลากหลาย

การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ : สบู่ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่คุณภาพต้นแบบแก่ชุมชน ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กากกาแฟและพืชสมุนไพรในท้องถิ่น

References

Mekhora, C., 2015, “Coffee for Health,” Food, 45 (4), pp. 15-21. (In Thai)

Oestreich-Janzen, S., 2016, “Caffeine: Characterization and Properties,” pp. 556-572 in B. Caballero, P.M. Finglas and F. Toldrà (Eds.) Encyclopedia of Food and Health, Elsevier, Amsterdam.

Jeon, J.S., Kim, H.T., Jeong, I.H., Oh, M.S., Yoon, M.H., Shim, J.H., Jeong, J.H. and Abd El-Aty, A.M., 2019, “Contents of Chlorogenic Acids and Caffeine in Various Coffee-related Products,” Journal of Advanced Research, 17, pp. 85-94.

Vieira, A.J.S.C., Gaspar, E.M. and Santos, P.M.P., 2020, “Mechanisms of Potential Antioxidant Activity of Caffeine,” Radiation Physics and Chemistry, 174 (108968), pp. 1-6.

Fakkhong, K. and Yamsa-ard, S., 2021, “Value Chain and Market Opportunity of Thai’s Coffee Products to Enhance the Marketability Competitiveness among the ASEAN Countries,” Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 16 (1), pp. 56-67. (In Thai)

Lourith, N., Xivivadh, K., Boonkong, P. and Kanlayavattanakul, M., 2022, “Spent Coffee Waste: A Sustainable Source of Cleansing Agent for a High-performance Makeup Remover,” Sustainable Chemistry and Pharmacy, 29 (100826), pp. 1-7.

Benincá, D.B., Carmo, L.B.D., Grancieri, M., Aguiar, L.L., Filho, T.L., Costa, A.G.V., Oliveira, D.D.S., Saraiva, S.H. and Silva, P.I., 2023, “Incorporation of Spent Coffee Grounds in Muffins: A Promising Industrial Application,” Food Chemistry Advances, 3 (100329), pp. 1-10.

Phanomchaisawang, P., Tungkananuruk, K., Semvimol, N. and Veesommai, C., 2022, “Ammonium and Orthophosphate Adsorption Efficiency of Coffee Ground and Coffee Ground Charcoal,” KKU Research Journal (Graduate Studies), 22 (2), pp. 22-33. (In Thai)

Putri, D.E., Djamil, R. and Faizatun, F., 2021, “Body Scrub Containing Virgin Coconut Oil, Coffee Grounds (Coffea Arabica Linn) and Carbon Active Coconut Shell (Activated Carbon Cocos nucifera L) as a Moisturiser and a Skin Brightener,” Scripta Medica, 52 (1), pp. 76-81.

Ratmelya, D.S., Reveny, J. and Harahap, U., 2022, “Test Anti-aging Activity in a Face Scrub Preparation that Contains Coffee-grade active Charcoal (Coffea arabica L.) with the Addition of Vitamin E,” ScienceRise: Pharmaceutical Science, 5 (39), pp. 74-82.

Dave, P., Patel, G., Patel, D., Patel, B., Patel, D., Chakraborthy, G.S. and Jani., R., 2022, “Formulation and Evaluation of Herbal Face Scrub Containing Coffea Arabica Linn, Myristica fragrans, and Lens culinaris as an Antioxidant and Antiseptic Activity,” International Journal of Drug Delivery Technology, 12 (3), pp. 1183-1186.

Chirani, M.R., Kowsari, E., Teymourian, T. and Ramakrishna, S., 2021, “Environmental Impact of Increased Soap Consumption During COVID-19 Pandemic: Biodegradable Soap Production and Sustainable Packaging,” Science of the Total Environment, 796 (149013), pp. 1-11.

Chaitiang, N., 2021, “Preventive Measures for Newly Emerging COVID 19 Infection,” Public Health Policy and Law Journal, 7 (3), pp. 541-553. (In Thai)

Chamchoi, N., Bulsathaporn, A. and Bunyagidj, C., 2021, “COVID-19: Prevention under Environmental Health Perspective,” Journal of Health Science, 30, pp. 376-388.

Sánchez-Salcedo, E.M., Mena, P., García-Viguera, C., Hernández, F. and Martínez, J.J., 2015, “(Poly)phenolic Compounds and Antioxidant Activity of White (Morus alba) and Black (Morus nigra) Mulberry Leaves: Their Potential for New Products Rich in Phytochemicals,” Journal of Functional Foods, 18, pp. 1039-1046.

Phansi, P., Tumma, P., Chuankhunthod, C., Danchana K. and Cerdà, V., 2021, “Development of a Digital Microscope Spectrophotometric System for Determination of the Antioxidant Activity and Total Phenolic Content in Teas,” Analytical Letters, 54 (7), pp. 2727-2735.

Thai Industrial Standards Institute, 2015, Instant coffee” (1069/2015), Ministry of Industry, pp. 1-7. (In Thai)

Ahmad, N., Hasan, Z.A.A., Muhamad, H., Bital, S.H., Yusof, N.Z. and Idris, Z., “Determination of Total Phenol, Flavonoid, Antioxidant Activity of Oil Palm Leaves Extracts and their Application in Transparent Soap,” Journal of Oil Palm Research, 30 (2), pp. 315-325.

Ngahom, R., Namussika, M. and Boonshoo, S., 2020, “Producing Marigold, Volcanic Soil, and Rock Soap,” Journal of Science and Technology, 4 (2), pp. 27-39. (In Thai)

Ngahom, R. and Suebkumpet, J., 2018, “Coconut Shell Charcoal Soap Mixed with Hypoxis aurea and Tiliacora triandra,” Journal of Science and Technology, 2 (2), pp. 37-50. (In Thai)

Sangkao, S., Khwanwong, A., Khonthong, N., Jaidee, K., Chumruay, N., Pachai, A., Meepripruk, M. and Buadee, N., 2017, “Antioxidant Activity, Ascorbic Acid Content and the Consumer Satisfaction of Aloe Vera Mixed Honey Soap : Phayaprai Herbs Amphoe Muang, Karmphaeng Phet,” The Golden Teak : Science and Technology Journal, 4, pp. 119-126. (In Thai)

Thai Industrial Standards Institute, 2010, Glycerin Bar Soap (665/2010), Ministry of Industry, pp. 1-5. (In Thai)

Purwanto, M., Yulianti, E.S., Nurfauzi, I.N. and Winarni, I.N., 2021, “Effects of Soapmaking Process on Soap Stability with Dragon Fruit Peels Extract,” Journal of Physics: Conference Series, 1726 (012001), pp. 1-9.

Azme, S.N.K, Yusoff, N.S.I.M., Chin, L.Y., Mohd, Y., Hamid, R.D., Jalil, M.N., Zaki, H.M., Saleh, S.H., Ahmat, N., Manan, M.D.F.A., Yury, N., Hum, N.N.F., Latif, F.A. and Zain, Z.M., 2023, “Recycling Waste Cooking Oil into Soap: Knowledge Transfer Through

Community Service Learning,” Cleaner Waste Systems, 4 (100084), pp. 1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

How to Cite

พันสี ป., รักษาภักดี ศ., & ดวงศรีแก้ว ก. (2024). การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสบู่สารสกัดกากกาแฟและ สบู่สารสกัดกากกาแฟผสมสารสกัดใบหม่อน. Science and Engineering Connect, 47(1), 26–41. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/7720