การปรับปรุงแบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่นในประเทศไทยโดยการใช้แบบจำลองภูมิประเทศเศษเหลือและความโน้มถ่วงพิภพภาคพื้นดิน
คำสำคัญ:
แบบจำลองยีออยด์, แบบจำลองภูมิประเทศเศษเหลือ, GNSS, Omission Errorsบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแบบจำลองยีออยด์ท้องถิ่น โดยการใช้แบบจำลองยีออยด์สากล EGM2008 ร่วมกับแบบจำลองภูมิประเทศเศษเหลือ (RTM) และข้อมูลความโน้มถ่วงพิภพภาคพื้นดินในบริเวณประเทศไทยเพื่อแปลงความสูงเหนือทรงรีที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณ GNSS เป็นความสูงออร์โทเมตริก การคำนวณหาแบบจำลองยีออยด์ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีของโมโลเดนสกี้ ครอบคลุมพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศราบ ลักษณะภูมิประเทศที่มีความสูงต่ำปานกลาง และพื้นที่ที่มีลักษณะภูเขาสูง ทั้งนี้ ใช้ข้อมูลค่าความสูงเหนือทรงรีอ้างอิงที่มีที่ตั้งร่วมกับความสูงออร์โทเมตริกที่อ้างอิงกับพื้นหลักฐานทางดิ่งที่เกาะหลัก (Kolak-1915) จาก 352 สถานี ในการตรวจสอบแบบจำลองยีออยด์ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการใช้ข้อมูลความโน้มถ่วงพิภพภาคพื้นดินร่วมกับแบบจำลองภูมิประเทศเศษเหลือในการคำนวณช่วยปรับปรุงความถูกต้องของแบบจำลองยีออยด์อย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงมาอยู่ในระดับเซนติเมตร สะท้อนถึงการลดลงของความคลาดเคลื่อนแบบออมมิสชั่นที่แฝงรวมอยู่ในการสร้างแบบจำลองยีออยด์ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากขาดการรังวัดข้อมูลความโน้มถ่วงและปริมาณอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
References
Pavlis, N.K., Holmes, S.A., Kenyon, S.C. and Factor, J.K., 2012, “The Development and Evaluation of the Earth Gravitational Model 2008 (EGM2008),” Journal of Geophysical Research: Solid Earth, 117 (B4), pp. 1-38.
Dumrongchai, P., Wichienchareon, C. and Promtong, C., 2012, “Local Geoid Modeling for Thailand,” International Journal of Geoinformatics, 8 (4), pp. 15-26.
Heiskanen, W.A. and Moritz, H., 1967, Physical Geodesy, W.H. Freeman, San Francisco.
Moritz, H., 1980, Advanced Physical Geodesy, Herbert Wichman Verlag, Karlsruhe.
Hirt, C., Featherstone, W.E. and Marti, U., 2010, “Combining EGM2008 and SRTM/DTM2006.0 Residual Terrain Model Data to Improve Quasigeoid Computations in Mountainous Areas Devoid of Gravity Data,” Journal of Geodesy, 84 (9), pp. 557–567.
Forsberg, R., 1984, A Study of Terrain Reductions, Density Anomalies and Geophysical Inversion Methods in Gravity Field Modelling, OSU Report, Department of Geodetic Science and Surveying, Ohio State University, Columbus, USA.
Dumrongchai, P., 2012, “Assessment of Gravity Requirements for Precise Geoid Determination in Thailand,” Proceedings of the 33rd Asian Conference on Remote Sensing, Pattaya, Thailand, pp. 1702-1708.
Forsberg, R. and Tscherning, C., 2008, An Overview Manual for the GRAVSOFT Geodetic Gravity Field Modelling Programs, National Space Institute (DUT-Space) and Niels Bohr Institute, University of Copenhagen, Denmark.
Dumrongchai, P. and Duangdee, N., 2019, “Evaluation of TGM2017 for Height System Using GNSS/Leveling Data in Thailand,” International Transaction Journal of Engineering, Management,& Applied Sciences & Technologies, 10 (10), pp. 1-10.
Forsberg, R. and Sideris, M.G., 1993, “Geoid Computations by the Multi-Band Spherical FFT Approach,” Manuscripta Geodetica, 18, pp. 82-90.
Vell, M.N.J.P., 2003, “A New Precise Co-Geoid Determined by Spherical FFT for the Malaysian Peninsula,” Earth, Planets Space, 55 (6), pp. 291-299.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science and Engineering Connect ในทุกรูปแบบ รวมถึงข้อความ สมการ สูตร ตาราง ภาพ ตลอดจนภาพประกอบในรูปแบบอื่นใด เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การนำเนื้อหา ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ของบทความไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเท่านั้น