การประยุกต์ซิกซ์ซิกม่าเพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตซี่ลวด : กรณึศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์
คำสำคัญ:
การลดของเสีย, ซิกซ์ซิกม่า, ดัชนีความเสี่ยงชี้นำ, การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ, บทเรียนหนึ่งประเด็นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในการผลิตชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์ โดยประยุกต์ใช้หลักการซิกซ์ซิกม่า 5 ขั้นตอน และเครื่องมือคุณภาพ 7 ประการ โดยการคัดเลือกปัญหาผ่านแผนภูมิพาเรโตพร้อมกับวัดสภาพปัญหาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต จากนั้นวิเคราะห์ปัญหาโดยประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ เพื่อหาความสำคัญของสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาจากการจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงเพื่อคัดเลือกปัญหาสำหรับการแก้ไข พบว่า ปัญหาความโตหัวซี่ลวดไม่ได้ขนาดที่เกิดแม่พิมพ์สึกและปัญหาซี่ลวดเป็นรอยที่เกิดจากแม่พิมพ์แตก ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้ามากที่สุด โดยสาเหตุของของเสียที่เกิดนั้นเกิดจากแม่พิมพ์จับซี่ลวดของเครื่องขึ้นรูปซี่ลวด ดังนั้นจึงกำหนดมาตรการการปรับปรุง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสี่ยงของปัญหา และจัดทำเอกสารบทเรียนหนึ่งประเด็นในการถ่ายทอดความรู้ พร้อมกับนำไปปฏิบัติเพื่อปรับปรุง ผลการปรับปรุง พบว่า เมื่อแก้ปัญหาความโตของหัวซี่ลวดไม่ได้ขนาดที่เกิดจากแม่พิมพ์สึก สามารถลดค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำแม่พิมพ์สึก ซึ่งมีค่าก่อนปรับปรุงเท่ากับ 384 ให้เหลือ 85 หรือลดลงร้อยละ 77.86 ในกรณีปัญหาซี่ลวดเป็นรอยที่เกิดจากแม่พิมพ์แตก สามารถลดค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำแม่พิมพ์แตกจาก 324 เป็น 75 หรือลดลงร้อยละ 76.85 นอกจากนี้ สามารถลดของเสียประเภทหัวซี่ลวดไม่ได้ขนาดลงได้ร้อยละ 71.92 (ก่อนปรับปรุง เดือนมกราคม-มีนาคม 2562 พบของเสีย 12,964 ชิ้น หลังปรับปรุงพบของเสีย 3,639 ชิ้น) และลดของเสียประเภทซี่ลวดเป็นรอยลงได้ร้อยละ 84.74 (ก่อนปรับปรุง เดือนมกราคม-มีนาคม 2562 พบ 9,519 ชิ้น หลังปรับปรุง พบ 1,453 ชิ้น)
References
Thaipublca, 2018, Future automotive industry Epison 3 [Online], Available: https://thaipublica.org/2018/11/krungsri-research-future-automotive-industry03/. [10 June 2018]
Krungsri Research 2019, Automotive parts industry and Business / industry trends Year 2018-2021 [Online], Available: https://www.krungsri.com/bank/getmedia/fb1ce3a1-8cc2-44c0-abb9-355b7b697444/IO_Auto_Parts_180713_TH_EX.aspx
Manaspiti, P., 2016, " Productivity Analysis and Improvement in Bottling Process through Maintenance Theories," KMUTT Research and Development Journal, 41 (2), pp. 199-210. (In Thai)
Costa, T., Silva, F.J.G. and Pinto Ferreira L., 2017, " Improve the extrusion process in tire production using Six Sigma methodology," Manufacturing Engineering Society International Conference," 8-30 June 2017, Vigo (Pontevedra), Spain, pp. 1104-1111.
Panumpai, P., 2010, Defect Reduction for Evaporator Product in Automotive Industry using Six Sigma Approach, Master of Engineering Dissertation, Industrial Engineering Program, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University. (In Thai)
Jankaew, S. and Jairtalawanich, T., 2007, "Defect Reduction for Aluminum Alloy Wheel Industry," International Conference and Exhibition On Sustainable Energy and Advanced," 10-11 May 2007, Phuket Graceland Resort & Spa, Phuket, pp. 151-3159. (In Thai)
Triongrut, W., 2014, Defective Reduction in Steel Spray Painting Process Using FMEM Technique: Case study of Gold Press Industry Co.,Ltd, Master of Engineering Dissertation, Business Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (In Thai)
Waikhruttha, S., 2014, Defect Reduction in Semi-Automated Adhesive Dispensine Process by Six Sigma MEthodology,Master of Engineering Dissertation, Industrial Engineering Program, Faculty of Engineering, Thammasat Univrsity. (In Thai)
Meechai, M., 2016, The Reduction of Wasted Materials in Compound Production Process by Applying dmaic: a Case Study of a Compound Rubber Company in Rayong Province, Master of Engineering Dissertation, Industrial Engineering Program, Faculty of Engineering, Thammasat University. (In Thai)
Singthanu, S., Pinthong, J. and Kajonwutnuntharchai P., 2015, " Improvement of Machinery Maintenance Efficiency in Production Line: KZL Model Gear Kick Spindle Part a Case Study of Auto Part Production Industries," I-TECH Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, 13 (13), pp. 45-60. (In Thai)
Sunarak, T., 2012, " Production Line Efficiency Improvement: A Case of Stator D Frame Model Production Line," IE Network Conference, The Cha-Am Mathavalai Hotel Phetchaburi, 17-19 October 2012, pp. 649-654. (In Thai)
Shivajee, V., Rastogi, S. and Rajesh, K.S., 2019, "Manufacturing Conversion Cost Reduction Using Quality Control Tools and Digitization of Real-time Data," Journal of Cleaner Production, 117678, pp. 11-35.
Laturee, J., 2016, Defect Reduction in the Assembly Process of Power Mirror Control Switch Using Quality Control Circle, Master of Engineering Dissertation, Industrial Engineering Program, Faculty of Engineering, Burapha University. (In Thai)
Rattanakool, T., 2016, "Autonomous Maintenance in Biofuel Power Plant," Engineering Journal Chiang Mai University, 23 (3), pp. 106-115. (In Thai)
Hiranwattanasuk, J., Bundamnern, A. and Chumrit, N., 2018, " Increase an Overall Equipment Effectiveness of The Two Color FLEXO Printing Machine in A Process of Corrugated Paper Box," Engineering Journal of Research and Development, 29 (1), pp. 45-52. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science and Engineering Connect ในทุกรูปแบบ รวมถึงข้อความ สมการ สูตร ตาราง ภาพ ตลอดจนภาพประกอบในรูปแบบอื่นใด เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การนำเนื้อหา ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ของบทความไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเท่านั้น