แนวทางการประเมินหน่วยงานและบุคลากรวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
คำสำคัญ:
การประเมินเชิงปริมาณ, ความเป็นเลิศทางวิชาการ, ดัชนี้ชี้วัด, บุคลากรวิจัย, ผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์, หน่วยงานวิจัยบทคัดย่อ
ปัจจุบัน การประเมินหน่วยงานและบุคลากรวิจัยใช้เกณฑ์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดบางตัวยังมีลักษณะเป็นเชิงคุณภาพค่อนข้างมาก จึงควรมีแนวทางการประเมินที่ใช้ดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณที่วัดได้ง่ายและชัดเจน บทความนี้นำเสนอแนวทางการประเมินหน่วยงานและบุคลากรวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยในส่วนของการประเมินหน่วยงานวิจัย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่สังกัดมหาวิทยาลัย) อาจใช้ดัชนี้ชี้วัดดังต่อไปนี้ (1) จำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus (หรือฐานข้อมูล TCI ในกรณีของหน่วยงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) และจำนวนสิทธิบัตร (2) คุณภาพบทความวิจัย ซึ่งพิจารณาจากจำนวนครั้งการอ้างอิง (3) งบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก (4) จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษา (5) ผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้จริง สำหรับการประเมินบุคลากรวิจัย อาจใช้ดัชนี้ชี้วัดดังต่อไปนี้ (1) จำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus โดยอาจพิจารณาทั้งจากจำนวนบทความรวม จำนวนบทความในวารสารที่อยู่ในควอร์ไทล์ที่ 1 และ 2 จำนวนบทความที่ผู้รับการประเมินเป็นผู้เขียนคนแรก และ/หรือเป็นผู้เขียนที่รับผิดชอบบทความ (2) จำนวนครั้งการอ้างอิง ซึ่งสืบค้นจากฐานข้อมูล Scopus (3) h-index ซึ่งคำนวณจากข้อมูลในฐานข้อมูล Scopus (4) จำนวนทุนวิจัย ทั้งจำนวนทุนรวม และเฉพาะที่เป็นหัวหน้าโครงการ (5) จำนวนผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์และผลกระทบ แนวทางที่นำเสนอนี้สอดคล้องในบางส่วนกับเกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยโลกของ QS และ Times Higher Education World University Rankings สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว และน่าจะเป็นที่ยอมรับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science and Engineering Connect ในทุกรูปแบบ รวมถึงข้อความ สมการ สูตร ตาราง ภาพ ตลอดจนภาพประกอบในรูปแบบอื่นใด เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การนำเนื้อหา ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ของบทความไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเท่านั้น