การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาเชิงรุกสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • มธุรส มิ่งมงคล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • จิตรา รู้กิจการพานิช ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, ค่าความพร้อมใช้งาน, การบำรุงรักษาเชิงรุก, FMEA

บทคัดย่อ

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นกรณีศึกษานี้มีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา ได้เกิดการขัดข้องของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าความพร้อมใช้งานเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง แสดงให้เห็นว่าการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่มีอยู่นั้นอาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันการเกิดการขัดข้องของเครื่องจักรได้ งานวิจัยนี้จึงได้นำการบำรุงรักษาเชิงรุกมาเป็นกลยุทธ์ของโรงไฟฟ้า การดำเนินงานเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบด้วย FMEA โดยสร้างเกณฑ์ของความรุนแรง (S) โอกาสเกิด (O) และการตรวจจับได้ (D) แล้วทำการประเมินค่าความเสี่ยงชี้นำ (RPN) ขั้นตอนต่อไปเป็นการจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขเชิงรุก เมื่อได้แนวทางแก้ไขแล้วจึงนำมากำหนดเป็นแผนงานเชิงรุก ซึ่งประกอบด้วยการปรับปรุงแผนการบำรุงรักษา รวมทั้งปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อลดโอกาสเกิดการขัดข้อง หลังจากที่ดำเนินการตามแผนงาน พบว่า สามารถทำให้ค่าความพร้อมใช้งานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 99.43% เป็น 99.69% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจาก 1.20% เป็น 0.41% จำนวนครั้งที่เกิดการขัดข้องลดลง 40.28% และกำลังการผลิตที่สูญเสียลดลง 28.44%

References

Wongjirattikarn, S., 2013, “Improvement of Preventive Maintenance Planning of an Automobile Shaft Manufacturer by FMEA Technique,” The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 23 (3), pp. 643-653. (In Thai)

Automotive Industry Action Group (AIAG), 2012, Potential Failure Mode and Effects Analysis (FMEA), 3rd ed.

Application of FMEA and AHP to Improve the Dyeing Process in the Sample Factory, Master of Engineering Thesis, Department of Industrial and Management Engineering, Silpakorn University. (In Thai)

Bank, D., 2015. “FITT for Investors Crossing the Chasm,” Recuperado a partir de [Online], Available: https://www.db.com/cr/en/docs/solar_report_full_length.pdf. [25 April 2018].

Deshpande, V.S. and Modak, J.P., 2003, Reliability Centered Maintenance in Electric Power Plant, Washington DC: Harper and Bros.

Dhillon, B.S., 1989, Life Cycle Costing: Technique, Models and Applications, Gordon and Breach, New York.

Rukijkanpanich, J. and Pasuk, P., 2018, "Maintenance Management for Transportation Process in Quarry Industry," Journal of Quality in Maintenance Engineering, 24, pp.185-199.

Aarseth, E., 2003, “Playing Research: Methodological Approaches to Game Analysis,” Proceedings of the Digital Arts and Culture Conference, pp. 28-29.

Susto, G.A., Schirru, A., Pampuri, S., McLoone, S. and Beghi, A., 2014, “Machine Learning for Predictive Maintenance: A Multiple Classifier Approach,” IEEE Transactions on Industrial Informatics, 11 (3), pp. 812-820.

Santaweesuk, P. and Rukijkanpanich, J., 2017, “Modification Maintenance Period for Masterbatch Production,” KMUTT Research and Development Journal, 40 (3), pp. 427-445. (In Thai)

Manaspiti, P., 2018, “Productivity Analysis and Improvement in Bottling Process through Maintenance Theories,” KMUTT Research and Development Journal, 41 (2), pp. 199-209. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-31

How to Cite

มิ่งมงคล ม., & รู้กิจการพานิช จ. (2020). การประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาเชิงรุกสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์. Science and Engineering Connect, 43(1), 31–48. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/10621