เครื่องเคลือบดินเผาหัตถศิลป์ : ความบัลดาลใจจากโทนสีของไทย

Main Article Content

Supphaka Palprame

บทคัดย่อ

โดยนำความบันดาลใจจากโทนสีของไทยมาใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการของผู้วิจัย โดยใช้หลักการทำน้อย ได้มาก (Less is More) ในการออกแบเพื่อให้ผลงานมีความร่วมสมัย การสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบดินเผาหัตถศิลป์:ความบันดาลใจจากโทนสีของไทยมีวัตถุประ สงค์เพื่อออกแบบ และสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบดินเผาในรูปแบบ Pottery Arts ผลการวิจัยพบว่าสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่นำความประทับใจจากลวดลายของผ้าทอ ซึ่งได้แก่ ลายผ้ามัดหมี่ และลายผ้าขิด มาออกแบบผสมผสานกับรูปทรงภาชนะใช้สอยที่เรียบง่ายตามหลักการทำน้อยได้มาก โดยใช้โทนสีของไทยที่ได้จากการทดลองส่วนผสมระหว่างผงสีสปิเนลผสมกับน้ำดินและคัดเลือกสีที่ได้มาทดลองผสมกับสีใต้เคลือบสำเร็จรูป เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสี ตามแบบอย่างวิธีการผสมโทนสีของไทยแบบโบราณมาตกแต่งภาชนะด้วยเทคนิคการตกแต่งลวดลายใต้เคลือบ ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ทั้งหมดจำนวน 3 ชุด ตามประเภทของเนื้อดิน คือดินพร์อสเลน สโตนแวร์ และเอิทเธนแวร์ ที่ขึ้นรูปชิ้นงานด้วยวิธีการปั้นด้วยแป้นหมุนและการหล่อน้ำดิน (Slip Casting) และเคลือบด้วยเคลือบใสสำเร็จรูป เผาตามระดับอุณหภูมิของเนื้อดิน คือ เอิธเทนแวร์ เผาที่ระดับอุณหภูมิ 1200-1220 องศาเซลเซียส ส่วนเนื้อดินสโตนแวร์ และพร์อสเลนเผาที่ระดับอุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส ซึ่งผู้วิจัยสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
Palprame, S. . (2025). เครื่องเคลือบดินเผาหัตถศิลป์ : ความบัลดาลใจจากโทนสีของไทย. วารสารสมาคมเซรามิกไทย, 1(1), 57–73. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/JTCS/article/view/8642
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). สีไทยโทน. ใน เสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ (หน้า 49-54). กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

กุลชาติ ดีเจริญ. (2559). ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. เชียงใหม่: ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทวี พรหมพฤกษ์. (2523). เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศุภวิช อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2552). ความงดงามของความเรียบง่าย Less Is More. วารสารศิลปกรรมศาสตร์, (มกราคม-มิถุนายน), 96-100. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2543). ผ้าทอพื้นเมือง. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. (2535). ออกแบบตกแต่ง. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ศุภกา ปาลเปรม. (2552). เคลือบ:ดินเผา. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด.

สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์. (2549). เซรามิกส์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2560). หลักการออกแบบกราฟิกและงานศิลปะกราฟิก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2560, จาก http://www.ideazign.com/port/graphic/content0303_01.htm

เอกชาติ จันอุไรรัตน์. (2551). Styles Interior Design. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.

อารี สุทธิพันธุ์. (2535). ศิลปะนิยม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.