พฤติกรรมการชำระเงินและการใช้สื่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • วิจิตรา จำลองราษฎร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
  • จักร ติงศภัทิย์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการชำระเงิน, การใช้สื่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีทางการเงิน, นักศึกษามหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงปริมาณในครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการชำระเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดพิษณุโลก เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ชำระโดยใช้เทคโนโลยีทางการเงินจำแนกตามเพศ มหาวิทยาลัย และรายได้ต่อเดือนของนักศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และค่าใช้จ่ายรวมของนักศึกษา ผู้วิจัยสำรวจและเก็บข้อมูลจากนักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และค่า Eta จากผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการชำระเงินในชีวิตประจำวันเป็นเงินสดมากที่สุด รองลงมา คือ ใช้ Mobile Banking และบัตรเครดิต กลุ่มตัวอย่างใช้บริการเทคโนโลยีทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินของผู้ให้บริการมากที่สุด คือ True Money Wallet รองลงมา คือแอพพลิเคชั่นของธนาคาร และในรอบ 1 เดือนที่ทำการศึกษา กลุ่มตัวอย่างซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยความถี่สูงสุด 1-2 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยอยู่ที่ 1,193.70 บาท ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2,456.71 บาท เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินที่สำคัญมากที่สุดคือความสะดวกในการใช้บริการ รองลงมาคือความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายที่ชำระโดยใช้เทคโนโลยีทางการเงินเมื่อจำแนกตามเพศ มหาวิทยาลัย และรายได้ต่อเดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบว่า ค่าใช้จ่ายรวมของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับการใช้สื่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Internet Banking สูงที่สุด รองลงมาคือ Mobile Banking อย่างไรก็ตาม ขนาดของความสัมพันธ์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ

References

Netiniyom P., 2011, Financial Innovation Overview [Online], Available: http://fin.bus.ku.ac.th/pdf/P/02_P_Fin%20Inno_STOU.pdf. (In Thai) [12 June 2020]

Ua-Chiraphongphan, S., et al., 2010, “Innovation: Meaning, Category, and Importance to Entrepreneurship,” Journal of Business Administration, 33 (128), pp. 49-65. (In Thai)

Jarungsriapisit, S., 2018, Fintech: Financial Innovation in the Digital Age [Online], Available: https://edoc.parliament.go.th. (In Thai) [12 June 2020]

Bank of Thailand, 2018, Payment Systems Report 2018 [Online], Available: https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/Publication/ PS_Annually_Report/AnnualReport/Payment_2018_TH.pdf. [12 June 2020]

Liengpradit, P., 2016, E-payment Behavior of People in Bangkok Metropolitan Region, Rangsit University, Pathumthani. (In Thai)

James, C., Luc, D., Chay, F. and Clare, N., 2020, Consumer Payment Behaviour in Australia, Reserve Bank of Australia Bulletin, March, pp. 9–16.

Wornchanok, C. and Watanyoo, S., 2019, “The Diffusion and adoption of electronic payment systems in Bangkok,” International Journal of E-Business Research, 15 (2), pp. 102-115.

Shweta, S., David, R. and Tina, M., 2018, “Understanding Credit Card Payment Behavior among College Students,” Journal of Financial Services Marketing, 23, pp. 38-49.

Ipsos, 2019, Majoring in Money: How College Students and other Young Adults Manage their Finances [Online], Available: https://www.salliemae.com. [12 June 2020]

Khantkhet, W. and Chaveesuk, S., 2019, “Acceptance in Using Electronic Payment System of Working People in the Central Region, Thailand,” Journal of Administration and Management, 9 (1), pp. 153-164. (In Thai)

Pumim, T., 2014, Adoption of Electronic Payment Instruments in Thailand, Master of Economics Thesis, Economics Program, Chulalongkorn University.

Division of Academic Affairs, Naresuan University, 2018, Student Number Statistics Report, Naresuan University : Academic year 2018, pp. 1-10. (In Thai)

Planning Division, Pibulsongkram Rajabhat University, 2018, Information: PSRU 2018, pp. 49-54. (In Thai)

Yamane, T., 1973, Statistics: An Introductory Analysis, Harper and Row, New York.

Pongvichai, S., 2015, Statistical Analysis of Data using Computers, Focusing on Research, 25th ed., Publisher of Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Makarapong, D. and Punnakitikashem, P., 2018, “Behavior Intention of E-Ticket System of Public Transportation System Users,” KMUTT Research and Development Journal, 41 (1), pp. 115-126. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

จำลองราษฎร์ ว., & ติงศภัทิย์ จ. (2021). พฤติกรรมการชำระเงินและการใช้สื่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. Science and Engineering Connect, 44(1), 103–116. สืบค้น จาก https://ph04.tci-thaijo.org/index.php/SEC/article/view/10360